หลักสูตรการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและอุตสาหกรรม

หลักสูตรการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและอุตสาหกรรม
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ข่าวเกี่ยวกับกฎหมายสิ่งแวดล้อม

สรุปข่าวเกี่ยวกับกฎหมายสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่มกราคม 2553 ถึงปัจจุบัน พร้อมระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

26 ความคิดเห็น:

  1. เรื่อง จับลอบค้าสัตว์ป่าไทยและต่างประเทศ คาสุวรรณภูมิ อนาถสัตว์ป่ามากมายถูกกองทับถมกันจนบอบช้ำบางตัวตายคาลังทั้งๆที่ท้องแก่
    อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แถลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ เรื่อง กรมอุทยานฯ ร่วมกับ การท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ บริษัทการบินไทย และตำรวจตรวจคนเข้าเมืองจับกุมตัวนายสุชาติ สุริยะ พร้อมของกลางเป็นสัตว์ป่าไทย และต่างประเทศ ประกอบด้วย เต่าบกลายรัศมีจำนวน 58 ตัว อีกัวน่า และกิ้งก่ายักษ์ไทย หรือตะกอง จำนวน 18 ตัว ขณะเตรียมส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยแจ้งข้อหากระทำความผิดพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 มาตรา 23 ภายใต้บังคับมาตรา 24 ห้ามมิให้ผู้ใดนำเข้าหรือส่งออกซึ่งสัตว์ป่า หรือซากสัตว์ป่าชนิดที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดหรือนำผ่านซึ่งสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครองหรือซากสัตว์ป่าดังกล่าว เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดี กระทำผิดตาม พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2499
    และมีความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469

    ที่มา : น.ส.พ.ข่าวสด ฉบับวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553

    นางสาว กนกวรรณ นาควิสุทธิ์ รหัส 52116603019
    ตอนเรียน A1

    ตอบลบ
  2. ประชาคมแม่ฮ่องสอนหลังจากรับรู้ว่ารัฐวางแผนสร้างเขื่อนร่วมกับประเทศจีนและพม่าบนแม่น้ำสาละวิน มี 13 เขื่อนในจีน 4 เขื่อนในพม่า และ 2 ใน 4 นั้น สร้างบริเวณชายแดนไทย-พม่า ชาวบ้านในแม่ฮ่องสอนไม่เห็นด้วยกับการสร้างเขื่อนในลุ่มน้ำสาระวิน เนื่องจากมีผลกระทบโดยตรงต่อจังหวัดแม่ฮ่องสอน นี่เป็นภัยคุกคามใหม่ที่คนแม่ฮ่องสอนเริ่มวิตกกังวลกันมากว่าวิถีชีวิตจะถูกทำลาย ลำน้ำปายที่อุดมสมบูรณ์จะหายไป เพราะในรายงานการศึกษาปรากฏว่า หากมีการสร้างเขื่อนเว่ยจีบนแม่น้ำสาละวินช่วงที่ไหลผ่านพม่าและไทยในเขต จ.แม่ฮ่องสอน น้ำจะเอ่อท่วมพื้นที่ประมาณ 6 แสนไร่ แม้ส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตรัฐคะเรนนีและรัฐฉาน พม่า แต่ก็จะท่วมพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสาละวินราว 19,101 ไร่ รวมไปถึงชุมชนสองฝั่งริมน้ำปาย ใน อ.เมืองฯ มากกว่า 3 หมื่นไร่ หากโครงการนี้ยังเดินหน้าต่อไปคนแม่ฮ่องสอนต้องเตรียมรับมือกับภัยน้ำท่วมที่มีผู้ได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง หลังได้เรื่องร้องเรียนจากชาวบ้าน กรรมาธิการทรัพยากรน้ำได้ศึกษาและตรวจสอบ โดยมีประเด็นตั้งข้อสังเกตถึงขอบเขตรายงานการศึกษาที่ไม่ครอบคลุมในเขตไทย ทั้งยังไม่มีการศึกษาชัดเจนของวงจรชีวิตหรือเส้นทางปลาผ่าน สาละวินเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ หากมีโครงการกระทบอาจถูกถอดถอนได้ เหตุใดรายงานจึงไม่มีเรื่องนี้ ซึ่งชาวบ้านมีสิทธิฟ้องหน่วยงานรัฐและรัฐวิสาหกิจตามมาตรา 62 ของรัฐธรรมนูญ ยังมีประเด็นความคุ้มค่าในการลงทุน โครงการนี้มูลค่า 7 หมื่นล้าน หากนำเงินไปลงทุนด้านอื่นจะได้ผลคุ้มค่ากว่าหรือไม่
    ที่มา : ไทยโพลต์ ข่าววันที่ 30 มกราคม 2554
    นางสาวเสาวลักษณ์ วิเชียร 52116603013 หลักสูตรการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและอุตสาหกรรม

    ตอบลบ
  3. ครม. ไฟเขียวกฎหมายสิ่งแวดล้อม
    นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติในหลักการร่าง พ.ร.บ.มาตรการทางการคลังเพื่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเป็นกฎหมายที่ให้โอกาสรัฐบาลมีเครื่องมือทางด้านการคลัง เช่น ภาษี ค่าธรรมเนียม และมาตรการจูงใจต่างๆ เพื่อดูแลเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่เนื่องจากร่างกฎหมายที่กระทรวงการคลังเสนอมายังขาดรายละเอียดบางส่วนจึงให้นำกลับไปพิจารณาเพิ่มเติม เช่น มาตรการภาษีเพื่อจูงใจให้เกิดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

    นอกจากนี้ ให้พิจารณาว่ากลไกที่เกิดจากกฎหมายฉบับนี้จะไม่ไปซ้ำซ้อนกับกฎหมายสิ่งแวดล้อม ทั้งในส่วนของคณะกรรมการและการจัดตั้งกองทุน โดยมอบให้กระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงสาธารณสุข ไปร่วมกันพิจารณาปรับปรุงแล้วส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบอีกครั้งก่อนนำเสนอเข้าที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรต่อไป

    สำหรับสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว กำหนดอัตราภาษีและค่าธรรมเนียม แยกเป็น 1. ภาษีมลพิษทางน้ำ ปีละ 10,000 บาทต่อตันของปริมาณมลพิษ 2. ภาษีมลพิษทางอากาศ ปีละ 2,500 บาทต่อตันของปริมาณมลพิษ 3. ภาษีนักท่องเที่ยว ร้อยละ 15 ของราคาค่าโดยสาร หรือ 1,000 บาทต่อคน 4. ภาษีผลิตภัณฑ์หรือค่าธรรมเนียมผลิตภัณฑ์ ร้อยละ 15 ของราคาผลิตภัณฑ์ หรือ 10,000 บาทต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ และ 5. ภาษีหรือค่าธรรมเนียมอื่นๆ ร้อยละ 15 ของราคาหรือ 10,000 บาทต่อหน่วยของปริมาณมลพิษ ทั้งนี้หากมีการจัดเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมสิ่งแวดล้อมดังกล่าว จะทำให้รัฐบาลมีรายได้ 18,000 ล้านบาทต่อปี คิดเป็น 1% ของรายได้รวมของประเทศ หรือคิดเฉลี่ยต่อประชากรรายละ 300 บาท

    ที่มาของข้อมูล : สำนักข่าวเนชั่น ประจำวันที่ 13 ตุลาคม 2553

    นาย นฤนาท โตภู่ รหัส 52116603025

    หลักสูตร การจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและอุตสาหกรรม

    ตอบลบ
  4. ศาลอุทธรณ์ออกหมายจับ เตมูจิน เบี้ยวฟังคำพิพากษา คดีหมิ่น"นพดล" หนุนขบวนการตัดไม้ในอุทยานเขาหลวง นัดใหม่ 16 มี.ค.

    ศาลอาญา นัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีที่นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายชนาพัทธ์ ณ นคร ประธานเครือข่ายเตมูจิน กับพวกรวม 11 คน เป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา จากกรณีเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2550 นายชนาพัทธ์ แถลงข่าวทำนองว่า ขณะที่นายนพดล ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องสนับสนุนขบวนการตัดไม้ทำลายป่า จำนวน 1.7 พันไร่ ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาหลวง จ.นครศรีธรรมราช และมีเงินในบัญชีธนาคารเพิ่มขึ้นกว่า 100 ล้านบาท โดยคดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดจริง ให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 เป็นเวลา 1 ปี แต่จำเลยที่ 1 สำนึกผิดและให้การรับสารภาพจึงลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกจำเลยที่ 1 เป็นเวลา 6 เดือน โดยไม่รอลงอาญา และในวันนี้จำเลยที่ 1 ไม่ได้เดินทางมาศาลตามนัด จึงเลื่อนฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ในวันที่ 16 มีนาคมนี้ และให้ออกหมายจับจำเลยที่ 1 เพื่อให้มาฟังคำพิพากษา
    http://www.posttoday.com/ข่าว/อาชญากรรม-สังคม/72613/ศาลออกหมายจับ-เตมูจิน-เบี้ยวฟังคำพิพากษา
    น.ส.นฤมล ไผ่โสภา 52116603043 วิดสิ่งแวดล้อม

    ตอบลบ
  5. ชาวบ้านหาดใหญ่ร้องถูกชุด ฉก.ผู้ว่าฯ จับอ้างบุกรุกป่าสงวน
    วันนี้ (29 ม.ค.) เมื่อเวลา 13.00 น.ชาวบ้านในพื้นที่ ม.9 บ้านวังพา ต.ทุ่งตำเสา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ประมาณ 300 คน ได้เดินทางมารวมตัวกันที่สำนักสงฆ์บ้านวังพา เพื่อเรียกร้องขอความเป็นธรรมพร้อมวางมาตรการร่วมกันต่อต้านคัดค้านเจ้าหน้าที่ชุดเฉพาะกิจผู้ว่าฯ ชุดที่ 2 ที่มีพฤติกรรมกลั่นแกล้งชาวบ้าน โดยออกตระเวนจับกุมชาวบ้านที่เข้าไปทำกินในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ เทือกเขาวังพา และอ้างว่าชาวบ้านบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนฯ ซึ่งความเป็นจริงแล้วพื้นที่ที่ชาวบ้านทำกินกันอยู่นั้นเป็นพื้นที่เก่าแก่ซึ่งสืบทอดกันมายาวนาน เป็นที่ทำมาหากินกันมาแต่ในอดีต ตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย
    นายจิรภัณฑ์ แก้วปาน ผู้ใหญ่บ้าน ม.9 บ้านวังพา ต.ทุ่งตำเสา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา กล่าวว่า ชาวบ้านมารวมตัวกัน เพราะได้รับความเดือดร้อนจากการทำงานของชุดเฉพาะกิจผู้ว่าฯ ชุดที่ 2 ที่เข้ามาจับกุมชาวบ้านที่ทำมาหากินอยู่ในพื้นที่ โดยถูกจับกรณีบุกรุกพื้นที่ป่า ทั้งที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำมาหากินกันมานานแล้ว ตั้งแต่รุ่นปู่รุ่นพ่อ จนทุกวันนี้ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่มีใครกล้าเข้าไปกรีดยางพารา เพราะกลัวจะถูกชุดเฉพาะกิจดังกล่าวจับกุม เหมือนที่ถูกจับกุมมาแล้ว 4 ราย
    สำหรับพื้นที่ป่าในหมู่บ้านวังพากว่า 6,000 ไร่ เป็นพื้นที่ที่ชาวบ้านทำมาหากินมากันหลายรุ่นแล้ว ซึ่งเป็นสวนยางพาราทั้งหมด ก่อนหน้านี้ รัฐบาลได้ให้ทางที่ดินมาทำการรังวัด เพื่อจะออกเอกสาร สปก.4-01 ให้กับชาวบ้าน โดยชาวบ้านได้ทำเรื่องลงชื่อกันไปหมดแล้ว เรื่องและเอกสารทั้งหมดขณะนี้ก็อยู่ที่กรมที่ดิน ซึ่งอธิบดีกรมที่ดินก็เคยลงมาดูพื้นที่เพื่อดำเนินการเรื่องดังกล่าวแล้ว แต่ขั้นตอนต่างๆยังไม่ทันจะเรียบร้อย ปรากฎว่าได้มีการตั้งเจ้าหน้าที่ชุดเฉพาะกิจขึ้นมาและออกตระเวนจับกุมชาวบ้าน
    นอกจากนี้ ยังพบว่ามีการทำลายทรัพย์สินของชาวบ้านที่อยู่ในสวนยางพาราด้วย ส่งผลให้ชาวบ้านในพื้นที่กว่า 200 ครัวเรือนได้รับความเดือนร้อนมาก ไม่กล้าเข้าสวนยางที่ตนเองปลูกไว้เพื่อกรีดยางพารา ได้ เพราะกลัวเจ้าหน้าที่ชุดนี้จับกุมอ้างว่าชาวบ้านเข้าไป บุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ
    ขณะที่ชาวบ้านรายหนึ่งที่เข้าร่วมประชุมด้วย กล่าวว่า ชาวบ้านทำกินกันในพื้นที่เดิม ไม่ได้มีการบุกรุกเพิ่มเติมแต่อย่างใด และชาวบ้านที่ถูกจับกุมส่วนใหญ่ก็เป็นพื้นที่ทำกินเดิม เพียงแต่โค่นยางเก่าทิ้งไป และขอทุนซื้อพันธุ์กล้ายางใหม่มาปลูกเพื่อทำกินต่อไป กลับถูกเจ้าหน้าที่ชุดนี้มาจับกุม โดยกล่าวหาว่าบุกรุกที่เพิ่ม ทั้งที่เป็นพื้นที่ทำกินเก่าแก่
    เมื่อทางเจ้าหน้าที่ชุดนี้บอกว่า ให้นำเอกสารสิทธิมายืนยัน แต่ชาวบ้านไม่มีเอกสารสิทธิ เพราะกำลังอยู่ระหว่างรอการออกเอกสารสิทธิทำกิน(สทก.)ให้ เมื่อไม่มีเอกสารสิทธิยืนยัน จึงถูกจับกุม ซึ่งตรงนี้เองชาวบ้านในพื้นที่มองว่าพวกเขาถูกกลั่นแกล้งจากเจ้าหน้าที่ชุดนี้ แต่หากการร้องเรียนครั้งนี้ทางฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่รับฟัง พวกชาวบ้านในพื้นที่ทั้งหมดจะรวมตัวเดินทางไปหาผู้ว่าฯเพื่อมอบตัว โดยไม่ต้องส่งเจ้าหน้าที่มากลั่นแกล้งจับกุมเหมือนอย่างที่เป็นอยู่ในตอน

    นาย อนุชิต สวัสดิ์ตาล รหัส 52116603003
    หลักสูตร การจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและอุตสาหกรรม

    ตอบลบ
  6. จัดสรรตอบรับกรีนบิวดิ้งหลังภาครัฐบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อม HBIRMชี้หมู่บ้านและอาคารสนใจนวัตกรรมใหม่ในการบำบัดน้ำเสีย
    นายธนันทร์เอก หวานฉ่ำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอช บี อินเตอร์ เรียลตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด (HBIRM) และอดีตนายกสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า หลังจากที่บริษัทได้ใช้กลยุทธ์กรีนบิวดิ้งในการบริหารและจัดการกับโครงการอสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ ในช่วงที่ผ่านมา ปรากฏว่าได้รับความสนใจจากคณะกรรมการหมู่บ้านและนิติบุคคลของอาคารต่าง ๆ เป็นอย่างดี เนื่องจากทางภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกมาเข้มงวดกับการใช้กฎหมายบังคับเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เห็นได้จากพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้มีการกำหนดมาตรฐานควบคุมมลพิษจากการระบายน้ำทิ้ง การปล่อยทิ้งอากาศเสีย การปล่อยทิ้งของเสีย หรือมลพิษอื่นใดจากแหล่งกำเนิดออกสู่สิ่งแวดล้อม เพื่อรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะการจัดการน้ำเสีย เพื่อเป็นการคืนแหล่งน้ำจะต้องมีคุณภาพ เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำได้ ทั้งนี้ได้กำหนดให้แหล่งน้ำทิ้งนั้นจะต้องไม่มีสีดำคล้ำ ไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่มีขยะในน้ำ และมีสิ่งมีชีวิตในน้ำ

    นอกจากนี้แล้ว ภาครัฐยังมีบทลงโทษโครงการบ้านจัดสรรและอาคารที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาดังกล่าว ทำให้คณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้ประกอบการ รวมทั้งผู้นำชุมชนได้เล็งเห็นประโยชน์จากการเข้าร่วมโครงการกรีนบิวดิ้งกับ HBIRM เพราะเป็นระบบที่มีศักยภาพสูงและเป็นนวัตกรรมใหม่ในการบำบัดและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญยังทำให้ระบบการบำบัดน้ำเสียในโครงการจัดสรรต่าง ๆ มีการประหยัดพลังงานและลดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าระบบเดิม ที่ต้องใช้ต้นทุนและมีค่าใช้จ่ายด้านพลังงานค่อนข้างสูง

    “เชื่อว่านำเอากลยุทธ์กรีนบิวดิ้งเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมการบริหารชุมชน คาดว่าจะทำให้ลูกค้าให้ความสนใจใช้บริการ HBIRM มากยิ่งขึ้น เห็นได้จากในช่วงสั้น ๆ ที่แจ้งให้ลูกค้าทราบเกี่ยวกับประโยชน์ของการบำบัดสิ่งแวดล้อมด้วยกลยุทธ์กรีนบิวดิ้ง มีโครงการจัดสรรและอาคารชุดจำนวน 5 โครงการเห็นประโยชน์ตอบรับทันที นอกจากนี้แล้วโครงการที่ HBIRM บริหารอยู่ หลังจากที่ได้มีการทดลองและสาธิตกระบวนการทำงานของการบำบัดน้ำเสียแบบใหม่ ส่วนใหญ่พึงพอใจกับการบำบัด ควบคุม และแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในโครงการ และให้ความสนใจที่จะใช้กรีนบิวดิ้งแก้ไขปัญหาดังกล่าว คาดว่าภายในสิ้นปีนี้จะมีทั้งบ้านจัดสรร อาคารชุด และอาคารสำนักงานจะเปลี่ยนจากการบำบัดน้ำเสียจากระบบเดิมและหันมาใช้กรีนบิวดิ้งไม่น้อยกว่า 15 โครงการ” นายธนันทร์เอกกล่าว

    บริษัท เอช บี อินเตอร์ เรียลตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด (HBIRM) ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 ดำเนินธุรกิจด้านการบริหารทรัพย์สิน ด้วยทีมงานมืออาชีพที่มีประสบการณ์กว่า 15 ปี มีจุดเด่นเรื่องระบบการบริหารที่ได้มาตรฐานสากล และเทคโนโลยีการให้บริการที่ทันสมัย โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างสรรค์และดูแลคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในโครงการอสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ที่อาศัยมีความพึงพอใจและมีคุณภาพชีวิตที่ดี เน้นนโยบายการทำงานเรื่องความรับผิดชอบและสร้างสรรค์ภายใต้หลักการ “สังคม คุณภาพ” ทำให้ที่ผ่านมามีโครงการประเภทต่าง ๆ ให้ความไว้วางใจกว่า 100โครงการ
    ที่มา http://www.ryt9.com/s/prg/1014708

    นางสาวรัตติกาล แย้มรักษา รหัส 52116603012
    หลักสูตร การจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและอุตสาหกรรม

    ตอบลบ
  7. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  8. เมื่อวันที่ 3 มีนาคม นายสมศักดิ์ ทับกลัด กำนันตำบลนาจอมเทียน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี นำบัญชีรายชื่อลูกบ้านหมู่ 3 และหมู่ 8 เกือบ 100 คน เป็นหลักฐานเข้าแจ้งความต่อ ร.ต.ท.ศุภวัฒน์ ลัทธปรีชา พนักงานสอบสวน สภ.ต.นาจอมเทียน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ดำเนินคดีต่อบริษัท ไอยรา แมนเนจเม้นท์ บางเสร่ จำกัด และผู้เกี่ยวข้องที่ได้ว่าจ้างนักธุรกิจนำรถแบ็กโฮจำนวน 6 คัน แบ่งเป็น ประเภทขุด 3 คัน เจาะ 2 คัน และเครนยก 1 คัน เรือลากจูง 1 ลำ เรือเหล็กท้องแบนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต เบอร์ 92 จำนวน 1 ลำ รถบรรทุกสิบล้อมาขุดก้อนหินธรรมชาติขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ และเจาะหินก้อนใหญ่ และหินดานที่ชายหาดหินลูกช้าง หมู่ 3 ต.นาจอมเทียน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
    นายสมศักดิ์ กล่าวว่า มีการขุดเจาะทำลายก้อนหินให้แปรสภาพ แล้วมีการเคลื่อนย้ายออกไปจากที่เดิม หลังได้รับแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาตรวจสอบพื้นที่แต่ไม่สามารถดำเนินการตามกฎหมายได้เพราะเจ้าหน้าที่จากบริษัท ไอยรา แมนเนจเม้นท์ บางเสร่ จำกัด ได้นำหนังสือขออนุญาตปรับปรุงภูมิทัศน์ จากสำนักงานการขนส่งทางน้ำที่ 6 สาขาพัทยา มาแสดงว่าได้รับอนุญาตในการดำเนินการเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นตนพร้อมด้วยนายมานะ ญาติเจริญ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 ต.นาจอมเทียน นายดำริห์ รัตนวงศ์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 8 ต.นาจอมเทียน จึงทำหนังสือจากที่ว่าการอำเภอสัตหีบ เลขที่ ชบ 0171/52 เรื่อง ขอคัดค้านการขุดหินในทะเล พร้อมแนบบัญชีรายชื่อประชาชนที่ร่วมคัดค้านกล่าวโทษข้าราชการ และให้ดำเนินคดีตามกฎหมายต่อผู้กระทำความผิดทุกคน ไปยื่นให้นายสุรพล พงษ์ทัดศิริกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี
    ทั้งนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีได้รับเรื่องการคัดค้านการขุดหินในทะเล พร้อมกับให้นายสมศักดิ์ ทับกลัด นำหลักฐานภาพถ่ายความเสียหายทรัพยากรธรรมชาติมาแนบเพิ่มเติมเพื่อเสนออธิบดีกรมขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี ให้มาดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องต่อไป
    นายสมศักดิ์ กล่าวต่อว่า การที่นายวิทยา ไชยานุกูลกิตติ หัวหน้าสำนักงานการขนส่งทางน้ำที่ 6 สาขาพัทยา ออกหนังสืออนุญาตให้บริษัท ไอยรา แมนเนจเม้นท์ บางเสร่ จำกัด เป็นผู้ขอปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่ชายหาดด้วยการรื้อถอนหินโสโครกธรรมชาติขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก บรรทุกใส่รถ ใส่เรือ โดยมีการเคลื่อนย้ายออกไปนอกพื้นที่เดิม ซึ่งถือว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการทำลายสภาพแวดล้อม ทำลายทรัพยากรธรรมชาติอย่างร้ายแรง ส่งผลให้ราษฎรขาดวงจรชีวิตในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นการประมง การท่องเที่ยว หนังสืออนุญาตดังกล่าวอาจจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้ประชาชนออกมาร่วมกันคัดค้านการกระทำดังกล่าว พร้อมทั้งให้ทางราชการพิจารณาลงโทษทางวินัยกับนายวิทยา ไชยานุกูลกิตติ ด้วย
    นายชายชาญ เอี่ยมเจริญ นายอำเภอสัตหีบ กล่าวว่า เรื่องที่กำนันและราษฎรร่วมกันแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีต่อผู้ประกอบการรับจ้างขุดหิน ปรับภูมิทัศน์หน้าชายหาดหินลูกช้าง หมู่ 3 ต.นาจอมเทียน อ.สัตหีบ ซึ่งเป็นของบริษัท ไอยรา แมนเนจเม้นท์ บางเสร่ จำกัด นั้น ขณะนี้ยังไม่ทราบรายละเอียด ต้องไปสอบถามนายสุรเชษฐ์ แก้วคำ ปลัดป้องกันและปราบปรามอำเภอสัตหีบ เพราะคงทราบเรื่องนี้ดี และยังไม่ได้ไปตรวจสอบแต่อย่างใด

    นาย พลวัฒน์ กลั่นธูป 52116603004

    ตอบลบ
  9. วิกฤติเถาวัลย์ @ แก่งกระจาน
    ปลายปีที่ผ่านมา มีข่าวปรากฏตามหน้าสื่อทั้งหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ ต่อกรณีที่มีเถาวัลย์รุกรานเข้าปกคลุมป่าธรรมชาติของอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน กินพื้นที่ร่วม 3 แสนไร่ พื้นที่ดังกล่าวเดิมเป็นป่าที่ผ่านการสัมปทานไม้ ซึ่งกำลังฟื้นคืนสภาพเป็นป่าสมบูรณ์ตามธรรมชาติ แต่มีเถาวัลย์จำนวนมากเข้ามายึดครองพื้นที่จนรกทึบ หากมองลงมาจากเฮลิคอปเตอร์จะพบว่า ป่าแก่งกระจานที่ถูกเถาวัลย์ปกคลุมหนาแน่นกินวงกว้างและรุนแรงมาก ทั้งยังมีแนวโน้มจะคืบคลานเข้าสู่ป่าลึกทุกขณะ เพราะเจ้าเถาวัลย์เติบโตอย่างรวดเร็วเหลือเกิน
    ปรากฏการณ์ดังกล่าวสร้างความวิตกกังวลให้ผู้คนในแวดวงอนุรักษ์ธรรมชาติ พร้อมกับเสนอแนวทางกำจัดเถาวัลย์แพร่กระจายในป่าแก่งกระจานที่หลากหลาย มีทั้งกลุ่มที่เห็นด้วยกับการตัดสางเถาวัลย์ในพื้นที่ และกลุ่มที่แสดงความไม่เห็นด้วยที่จะมีการตัดเถาวัลย์จำนวนหลายแสนไร่ กลุ่มนักอนุรักษ์ในพื้นที่ประกาศขัดขวางการตัดทำลายเถาวัลย์ทิ้ง โดยทางอุทยานฯ ก็ได้ยุติการตัดเถาวัลย์ชั่วคราว แต่จะหาทางออกในการรักษาป่าแก่งกระจาน ต้นไม้ สัตว์ป่าอย่างไรให้ได้มากที่สุด
    ผืนป่าแก่งกระจานกว่า 1.8 ล้านไร่ บริเวณนี้ยังอุดมสมบูรณ์สัตว์ป่า พันธุ์พืช เถาวัลย์ที่รุกเข้ามาคลุมต้นไม้ โอบรัดให้ต้นไม้ยืนต้นตาย มีไม้อายุกว่า 100 ปีถูกเถาวัลย์คลุมแย่งอาหาร น้ำ จนตายและหักโค่นลงเพราะรับน้ำหนักไม่ไหว แล้วยังทำให้สมุนไพร ลูกไม้ของต้นไม้ชนิดต่างๆ พืชอาหารสัตว์ป่าไม่มี เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศและความหลากหลาย เพราะกระทิง วัวแดง เก้งกวาง ช้างป่า เป็นสัตว์ที่ต้องการพื้นที่เปิดโล่ง ฝูงนกเงือกที่อาศัยผืนป่าแก่งกระจานก็กระทบจากเถาวัลย์ที่คลุมเรือนยอดของต้นไม้ ไม่มีที่อยู่อยู่อาศัย
    "จากพื้นที่ 3 แสนไร่ที่เถาวัลย์ปกคลุม มีไม่น้อยกว่า 5-6 หมื่นไร่เป็นพื้นที่วิกฤติต้องแก้ไขเร่งด่วน อยู่บริเวณบ้านตาอุ่น ห้วยคมกฤช เขาปะการัง กม.ที่ 10 ห้วยแม่สะเรียง จนถึงเขากระทิง เถาวัลย์หนาแน่นเกิน 90 เปอร์เซ็นต์ ไม่สามารถเดินผ่านได้ บริเวณนี้เป็นที่อาศัย แหล่งน้ำ แหล่งอาหารสัตว์ป่า เส้นทางโป่งเดิมถูกตัดขาด ปริมาณอาหารที่ลดลงเรื่อยๆ จะทำให้สัตว์ป่าออกไปหากินในพื้นที่เกษตรของชุมชนรอบผืนป่าเพิ่มขึ้น หรืออพยพไปฝั่งพม่า อุทยานฯ ต้องแก้ปัญหา สร้างแหล่งอาหารในพื้นที่ให้เพียงพอ ส่วนอีกประมาณ 1 แสนไร่ อยู่นอกพื้นที่วิกฤติ มีเถาวัลย์คลุมทั่วไป แต่ที่กลัวคือ บริเวณป่ารอยต่อป่าเถาวัลย์กับป่าดิบชื้น เนื้อที่ราว 1 แสนไร่ เห็นว่าต้องป้องกันไม่ให้แพร่กระจาย ไม่เช่นนั้นเถาวัลย์คลุมเรือนยอดแล้วดึงล้มๆ พื้นที่ป่าสมบูรณ์เสียหายหมด
    ที่มา : ไทยโพลต์ ข่าววันที่ 30 มกราคม 2554

    นางสาววัชราวดี วาดพันธ์ 52116603017
    การจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและอุตสาหกรรม

    ตอบลบ
  10. ตร.ทลายตรวจไม้สักถูกตัดกลางป่าสงวนฯตาก (ไอเอ็นเอ็น)
    ตำรวจปราบปรามการกระทำผิดทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม สนธิกำลัง ยึดไม้สัก กลางป่าสงวนแห่งชาติท่าสองยาง จ.ตาก ขณะที่เจ้าของรู้ทัน หลบหนีเข้ากลีบเมฆ
    พล.ต.ต. มิสกวัน บัวรา ผบก.ปทส. ได้สั่งการให้ พ.อ.นิพนธ์ เกินศิลป์ ผกก.4 วางแผนนำกำลังร่วมกับ ตำรวจตระเวนชายแดน กองร้อยที่ 345 อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก พร้อมเจ้าหน้าที่ป่าไม้ และฝ่ายปกครอง เข้าตรวจยึดไม้สักท่อนซุง กลางป่าสงวนแห่งชาติท่าสองยาง บริเวณท้ายหมู่บ้านแม่ต้าน พบโรงเลื่อยไม้ขนาดใหญ่ และบริเวณใกล้เคียงยังพบไม้สักทองจำนวนกว่า 30 ท่อน วางเรียงกัน โดยมีใบไม้ และกิ่งไม้ปกปิดอำพรางไว้
    นอกจากนี้ ยังตรวจยึดไม้สักแผ่นเป็นลักษณะ 9 เหลี่ยม อีกจำนวนหนึ่ง เจ้าหน้าที่จึงทำการตรวจยึด และตีตราไว้เป็นหลักฐานก่อนจะหาผู้กระทำผิดอีกครั้ง โดยการจับกุมครั้งนี้ คิดเป็นมูลค่าไม้ที่จับกุมได้กว่า 1 ล้านบาท เจ้าหน้าที่กล่าวว่าขบวนการตัดไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติท่าสองยาง ได้มีผู้มีอิทธิพลอยู่เบื้องหลัง มีการสร้างโรงเลื่อยค้างแรมขนาดใหญ่ โดยว่าจ้างชาวบ้านใกล้เคียงเข้ามาทำการตัดไม้สัก นำต้นขนาดใหญ่ เกือบ 2-3 คนโอบ โดยมีการใช้ทั้งช้างชักลากจำนวนหลายเชือกอย่างไม่เกรงกลัวกฎหมายบ้านเมือง ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบขยายผลว่า ไม้ที่ถูกลักลอบตัดเป็นของใคร
    โพสต์ครั้งล่าสุด: 11 ก.ค. 2010


    นางสาวมิลิน ขุมทรัพย์ 52116603024
    การจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและอุตสาหกรรม

    ตอบลบ
  11. นายสุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) แถลงสรุปสถานการณ์มลพิษประเทศไทยประจำปี 2551 ว่า ภาพรวมทั่วไปถือว่าค่อนข้างดีขึ้น ดังนี้ สถานการณ์คุณภาพน้ำ พบว่าคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดีและพอใช้เพิ่มขึ้น เช่น แม่น้ำเสียว ตรัง ลำตะคองตอนบน พอง ชี ลำปาว และแควใหญ่ มีคุณภาพน้ำเปลี่ยนระดับเป็นเกณฑ์ดี ส่วนแม่น้ำลำตะคองตอนล่าง คุณภาพน้ำยกระดับจากเสื่อมโทรมมากเป็นระดับเสื่อมโทรม ส่วนแหล่งน้ำที่อยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมในปี 2550 แล้วเปลี่ยนเป็นเสื่อมโทรมมากในปี 2551 ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง สาเหตุหลักที่ทำให้คุณภาพน้ำเสื่อมโทรมมาจากน้ำทิ้งชุมชน คุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง มีแนวโน้มดีขึ้น ส่วนภาพรวมคุณภาพน้ำทะเลทั่วประเทศ พบว่าสารแขวนลอยและโลหะหนักสูงเกินค่ามาตรฐานน้ำทะเล สำหรับสถานการณ์คุณภาพอากาศและระดับเสียง ในภาพรวมดีขึ้น ปัญหามลพิษหลัก คือ ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน
    "คุณภาพอากาศในกรุงเทพฯ พบปัญหาปริมาณฝุ่นขนาดเล็ก เกินมาตรฐาน พื้นที่ที่พบปัญหา ได้แก่ ถนนดินแดง ถนนพระราม 6 ถนนพระราม 4 ถนนราชปรารภ ถนนพิษณุโลก ถนนสุขุมวิท ถนนเยาวราช ถนนสามเสน ถนนสุขาภิบาล 1 เป็นต้น ในพื้นที่ต่างจังหวัด ปัญหาหลักคือ ฝุ่นขนาดเล็ก พื้นที่ที่มีปัญหามากที่สุด คือ ต.หน้าพระลาน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี แต่รุนแรงน้อยลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา สถานการณ์ระดับเสียง พบว่าระดับเสียงริมเส้นทางจราจรและพื้นที่ทั่วไปใน กทม. มีแนวโน้มลดลงจากปีที่ผ่านมาเล็กน้อย บริเวณที่มีค่าเกินมาตรฐาน 70 เดซิเบลเอ ทุกวัน คือ ถนนตรีเพชร ถนนลาดพร้าว" นายสุพัฒน์กล่าว
    นายสุพัฒน์ กล่าวว่า สถานการณ์ขยะกากของเสีย พบว่ามีขยะที่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้องประมาณ 15,444 ตันต่อวัน หรือร้อยละ 37 ของปริมาณขยะทั่วประเทศ ในเขตกรุงเทพมหานครสามารถกำจัดขยะมูลฝอยได้ทั้งหมด ในเขตเทศบาลเมืองและเมืองพัทยามีสถานที่กำจัดมูลฝอยที่ถูกหลักสุขาภิบาลและสามารถเดินระบบได้แล้วจำนวน 107 แห่ง สามารถกำจัดได้ประมาณ 5,240 ตันต่อวันส่วนนอกเขตเทศบาล สามารถกำจัดขยะมูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาลได้เพียง 1,234 ตันต่อวัน ส่วนของเสียอันตราย คาดว่าจะมีปริมาณของเสียอันตรายเกิดขึ้นประมาณ 1.862 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2550 เพียง 16,500 ตัน โดยของเสียอันตรายที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มาจากภาคอุตสาหกรรมประมาณ 1.45 ล้านตัน และจากชุมชนประมาณ 0.41 ล้านตัน
    "สำหรับสถานการณ์สารอันตราย พบว่ามีผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากสารเคมีทั้งสิ้น 1,650 ราย จำแนกเป็นผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากสารเคมีด้านอุตสาหกรรม 202 ราย และผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษจากสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ 1,448 ราย มีอุบัติภัยจากสารเคมีในปี 2551 เกิดขึ้นทั้งสิ้น 29 ครั้ง ซึ่งมีสาเหตุจาก โรงงานอุตสาหกรรมและโกดังเก็บสารเคมี 14 ครั้ง การขนส่งสารเคมี 6 ครั้ง และการลักลอบทิ้งสารเคมีและของเสียอันตราย 9 ครั้ง ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 17 ราย และผู้เสียชีวิต 4 ราย" นายสุพัฒน์ กล่าว
    นายสุพัฒน์ กล่าวต่ออีกว่า การร้องเรียนปัญหามลพิษมายังกรมควบคุมมลพิษตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 15 พฤศจิกายน 2551 มีจำนวนทั้งสิ้น 468 เรื่อง ซึ่งลดลงจากปี 2550 ในช่วงเวลาเดียวกัน จำนวน 84 เรื่อง ปัญหามลพิษที่มีการร้องเรียนมากที่สุดคือปัญหามลพิษทางอากาศและเสียง ร้อยละ 82 รองลงมาเป็นปัญหาน้ำเสีย ร้อยละ 11 และปัญหากากของเสีย ร้อยละ 3 ตามลำดับ จังหวัดที่มีร้องเรียนมากที่สุดคือกรุงเทพมหานคร โดยช่องทางที่ประชาชนใช้ในการร้องเรียนมากที่สุด คือ โทรศัพท์ ร้อยละ 41 รองลงมาคืออินเตอร์เน็ต ร้อยละ 33 และทางจดหมาย ร้อยละ 20 ตามลำดับ
    ที่มาของข้อมูล : หนังสือพิมพ์มติชน ประจำวันที่ 31 ธันวาคม 2552

    นางสาว สุพิชชา จันดา 52116603001 การจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและอุตสาหกรรม

    ตอบลบ
  12. อุทยานหาดเจ้าไหมห่วงแก๊งล่าหอยหน้ายักษ์ หวั่นกระทบดันเป็นมรดกโลก
    ตรัง - อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จังหวัดตรัง หวั่นปัญหากลุ่มนายทุนและชาวประมง ลักลอบจับหอยหน้ายักษ์ ส่งไปขายภัตตาคารในจังหวัดภูเก็ต จะกระทบต่อระบบสิ่งแวดล้อมในอนาคต ที่เตรียมเสนอเป็นแหล่งมรดกโลก

    นายประพจน์ สัตถาภรณ์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จังหวัดตรัง กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ เจ้าหน้าที่ได้จับกุมกลุ่มนายทุนและชาวประมง จำนวน 17 คน ซึ่งลักลอบเข้ามาจับหอยหน้ายักษ์ หรือหอยสังข์ จำนวนมาก มูลค่าเกือบ 1 ล้านบาท ที่บริเวณท่าเรือหาดยาว หมู่ที่ 6 ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง ขณะกำลังขนถ่ายจากเรือหางยาว แล้วลำเลียงต่อด้วยรถกระบะ เพื่อจะนำไปขายที่จังหวัดภูเก็ต

    ทั้งนี้ ได้ถูกเจ้าหน้าที่ตั้งข้อกล่าวหาว่า กระทำผิดตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 มาตรา 16 (3) ฐานนำสัตว์ออกไป หรือกระทำการใดๆ ให้เป็นอันตรายแก่สัตว์ (13) หรือเข้าไปดำเนินกิจการใดๆ หรือเพื่อหาประโยชน์ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และปฏิบัติตามเงื่อนไขซึ่งเจ้าหน้าที่ผู้อนุญาตกำหนดไว้

    ทั้งนี้ หอยหน้ายักษ์ หรือหอยสังข์ มีความสำคัญต่อระบบนิเวศในท้องทะเลตรังเป็นอย่างมาก โดยจะอาศัยอยู่ตามแนวปะการัง หรือตามแนวโขดหิน ในเขตอุทยานแห่งชาติ แต่วิธีการลักลอบเข้ามาจับหอยชนิดนี้ยังคงเป็นสิ่งที่น่าห่วงใยอย่างยิ่ง เนื่องจากจะใช้เครื่องอัดอากาศ ดำน้ำลงไปเก็บ ครั้งละ 10-20 คน เหมือนกับเดินอยู่ในพื้นดิน จนได้หอยครั้งละ 2-3 ตัน

    จากการสืบสวนสอบสวนและขยายผลต่อมาพบว่า หากหอยถูกลำเลียงไปถึงตลาดรับซื้อ ในจังหวัดภูเก็ต ได้ ก็จะถูกส่งเข้ายังภัตตาคาร หรือร้านอาหารโดยทันที โดยเฉพาะเนื้อหอยชนิดนี้สามารถนำไปปรุงอาหารได้หลากหลาย และใช้ทดแทนหอยเป๋าฮื้อได้ ส่วนเปลือกหอยก็นำไปทำเป็นของที่ระลึก ซึ่งก็มีราคาซื้อขายในท้องตลาดสูงเช่นกัน

    ที่สำคัญก็คือ ฝาหอยหน้ายักษ์ หรือหอยสังข์ จะถูกส่งไปผลิตเป็นยาชูกำลังตามความเชื่อของผู้บริโภคบางส่วน จึงทำให้ได้รับความนิยมสูงมากในช่วงขณะนี้ ทั้งๆ ที่เดิมทีไม่เคยมีผู้ใดให้ความสนใจนำไปบริโภคเลย เนื่องจากหอยชนิดนี้จะมีน้ำหนักมากถึงตัวละ 2 กิโลกรัม

    อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดปัญหาการลักลอบเข้ามาจับหอยชนิดนี้ แม้จะยังมีปริมาณไม่มากและยังไม่ส่งผลกระทบรุนแรง แต่หลังจากนี้ไปอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมก็จะเป็นที่จะต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด และเดินหน้าปราบปรามร่วมกับหน่วยงานต่างๆ อย่างเข้มงวด เนื่องจากท้องทะเลอันดามัน รวมทั้งท้องทะเลตรัง กำลังถูกเสนอให้เป็นแหล่งมรดกโลก แต่หากปล่อยให้เกิดหากเสียหาย ก็จะส่งผลกระทบต่อการผลักดันได้

    นางสาว อัจฉราพรรณ วราหะ รหัส 52116603020 หลักสูตรการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและอุตสาหกรรม

    ตอบลบ
  13. ปัญหามลพิษในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด

    ศาลปกครองตัดสินคดีมาบตาพุด 76 โครงการแล้วว่าให้เดินหน้าได้ต่อไป 74 โครงการ อีก 2 โครงการที่ไม่ผ่านให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติไปพิจารณาว่าเข้าเกณฑ์กิจการที่มีผลกระทบรุนแรงตามมติ 11 กิจการรุนแรง ชาวบ้านร้องขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวหลุดเกือบหมด มีเพียง 2 โครงการเท่าที่เข้าข่าย มาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษต้องดูแลระมัดระวังผลกระทบเป็นพิเศษ ควรยึดหลักตามมาตรา 67 วรรคสอง ต้องทำรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (อีเอไอ) และรายงานผลกระทบสุขภาพ (เอชไอเอ) "76 โครงการใหม่ที่มาบตาพุด มี 14 โครงการที่มีสารมะเร็งกลุ่ม อีก 2 โครงการ มีสารก่อมะเร็งกลุ่ม 2 เอ ยังมีอีก 5 โครงการ เป็นสารก่อมะเร็งในสัตว์ ที่สำคัญมี 35 โครงการที่จะปล่อยสารเคมีซึ่งมีผลกระทบรุนแรงต่อระบบทางเดินหายใจ มาตรา 67 วรรคสอง ตามรัฐธรรมนูญ เป็นการตรวจสอบโครงการพัฒนาต่างๆ มีการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพในอนาคต เสนอระบบการป้องกันและจัดการกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ซึ่งไม่มีอำนาจในการยกเลิกโครงการ เพียงแต่จะดำเนินโครงการที่มีผลกระทบรุนแรงได้ต้องผ่านมาตรการพิเศษ
    สรุปได้ว่าคนระยองไม่ได้ไม่เอาอุตสาหกรรม แต่ขอให้ลดและควบคุมผลกระทบที่จะมีต่อชุมชน และให้ภาครัฐ ภาคเอกชน โรงงานอุตสาหกรรมเข้ามาแก้ปัญหาอย่างจริงจัง

    ที่มา : ไทยโพลต์ ข่าววันที่ 30 มกราคม 2554
    (นางสาว สุชาดา สายวา 52116603035 หลักสูตรการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและอุตสาหกรรม)

    ตอบลบ
  14. จัดโครงการขี่ม้าตรวจป่าป้องกันคนตัดไม้ "ดงใหญ่"

    คมชัดลึก : บุรีรัมย์ - ตชด.ร่วมกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ จัดโครงการ ขี่ม้าออกลาดตระเวนพื้นที่ป่าดงใหญ่

    นายพีระศักดิ์ หินเมืองเก่า ผู้ว่าฯ บุรีรัมย์ เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับตำรวจตระเวนชายแดน เจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ และเจ้าหน้าที่หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ บร.5 อ.โนนดินแดง จัดโครงการ “ม้าลาดตระเวนรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” ตั้งศูนย์อยู่ที่ฐานปฏิบัติการเทพารักษ์ บ้านลำนางรอง ต.ลำนางรอง อ.โนนดินแดง โดยจะให้เจ้าหน้าที่ ตชด.ร่วมกับเจ้าหน้าป่าไม้ขี่ม้าเข้าไปลาดตระเวนตรวจตราในพื้นที่ป่าดงใหญ่ เพื่อป้องกันปราบปรามกลุ่มคนร้ายหรือผู้ไม่หวังดี ลักลอบเข้าไปตัดไม้ทำลายป่าและล่าสัตว์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติดงใหญ่ที่ได้รับการประกาศจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ มีเนื้อที่มากกว่า 195,480 ไร่

    "โครงการขี่ม้าออกลาดตระเวนนี้ ยังสามารถประหยัดพลังงานเชื้อเพลิง ทุ่นแรงกาย เพิ่มความรวดเร็วและครอบคลุมพื้นที่ในการลาดตระเวนตรวจตราของเจ้าหน้าที่ได้เป็นอย่างดีมากกว่าการใช้รถยนต์ รถจักรยานยนต์ และการเดินเท้าออกลาดตระเวนซึ่งค่อนข้างจะประสบปัญหาอุปสรรค"

    นายพีระศักดิ์ กล่าวว่า เชื่อว่าจะโครงการนี้จะเกิดประโยชน์อย่างมากในการป้องกันปราบปรามการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า อีกทั้งชุดปฏิบัติการนี้จะเป็นหน่วยงานให้ความรู้ ปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนรักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วย เป็นการช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่อย่างยั่งยืนต่อไป

    ที่มา : น.ส.พ.คมชัดลึก / 4 มิถุนายน 2553
    นางสาว สาวิตรี เวียงจันทร์ 52116603027 หลักสูตร การจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและอุตสาหกรรม

    ตอบลบ
  15. พบซากเต่าตนุเกยหาดบางสะพานเครือข่ายเฝ้าระวังฯเร่งหาทางแก้

    นายปกรณ์ ปุริมอติกานต์ รักษาการประธานเครือข่ายเฝ้าระวังและช่วยเหลือสัตว์ทะเลหายาก อำเภอบางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เปิดเผยว่า สมาชิกเครือข่ายฯ พบซากเต่าตนุมาเกยตื้น จึงได้ร่วมกันเดินทางไปตรวจสอบพบว่าเป็นซากเต่าตนุ เพศผู้ อายุประมาณ 15 ปี น้ำหนัก 80-100 กิโลกรัม จึงประสานงานไปยังศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนกลาง จ.ชุมพร เพื่อศึกษาสาเหตุการตายโดยเบื้องต้นสันนิษฐานว่าอาจตายเพราะสายเบ็ดติดเข้าไปในกระเพาะอาหาร

    หลังจากนี้มีแผนว่าจะนำซากเต่าตนุดังกล่าวมาศึกษา เพื่อเป็นความรู้ให้กับชาวประมงและเด็กๆ ในพื้นที่ต่อไป กรณีนี้นับว่าเป็นความร่วมมือที่ดี เพราะหลังจากสมาชิกเครือข่ายฯ พบซากเต่าก็รีบมาแจ้งที่หน่วยงานกลางทันที ทำให้ได้มีการจัดการที่มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามผลการดำเนินงานของเครือข่ายฯ จะเน้นไปที่การดูแลรักษา และช่วยกันเฝ้าระวัง เพื่อช่วยให้สัตว์ทะเลหายากสูญเสียน้อยที่สุด

    ขณะที่ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การจัดประชุมรับฟังและเสนอความคิดเห็นในการจัดทำผังเมืองรวมชุมชนบางสะพาน ซึ่งมีชาวบ้านกว่า 600 คน เข้าร่วม นายสุพจน์ ส่งเสียง รองประธานกลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึง กล่าวว่า การจัดทำผังเมืองควรคำนึงถึงระบบนิเวศน์มากกว่าคำนึงถึงโครงการอุตสาหกรรมที่มีอยู่เดิม เพราะระบบนิเวศน์หากถูกทำลายเพียงส่วนหนึ่งจะเท่ากับเป็นการทำลายกลไกระบบนิเวศน์ที่เกี่ยวพันโดยเฉพาะเป็นการทำลายแหล่งอาหารที่สำคัญของประเทศ

    นายเชาว์ เหลืองสุริยา ชาวบ้าน ต.กำเนิดนพคุณกล่าวว่า ชาวบ้านกว่า 150 คน ได้คว่ำบาตรการประชุมด้วยการเดินออกนอกห้องประชุม เพราะไม่พอใจ และรู้สึกผิดหวังกับการทำงานของตัวแทนรัฐ เนื่องจากมีความเอนเอียงชัดเจน ไม่เปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้แสดงความคิดเห็น ทั้งๆ ที่เป็นชาวบ้านในพื้นที่ แต่กลับเปิดโอกาสให้กลุ่มอนุรักษ์ฯ พูดฝ่ายเดียว

    ที่มา : น.ส.พ.คมชัดลึก ฉบับวันที่ 11 มกราคม 2553

    นางสาวเจนจิรา อุสันดร 52116603010 หลักสูตร การจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและอุตสาหกรรม

    ตอบลบ
  16. สรุปคำพิพากษาศาลปกครองเชียงใหม่ กรณีโรงไฟฟ้าแม่เมาะและสนามกอล์ฟ
    วันนี้ (๔ มีนาคม ๒๕๕๒) ศาลปกครองเชียงใหม่ มีคำพิพากษารวม ๒ คดี โดยคดีแรกศาลมีคำพิพากษาให้ กฟผ. ชดใช้เงินแก่ราษฎรนับร้อยรายที่ได้รับผลกระทบจากก๊าซซัลเฟอร์-ไดออกไซด์ (SO2) และคดีที่ ๒ มีคำพิพากษาให้ กฟผ. อพยพราษฎรและให้ปลูกป่าแทนสนามกอล์ฟศาลปกครองเชียงใหม่ ได้อ่านคำพิพากษา ๒ คดี ดังนี้ศาลเห็นว่าคนในพื้นที่แม่เมาะก็ไม่ต่างกับคนในพื้นที่อื่น จึงต้องใช้มาตรฐานเดียวกัน ดังนั้น เมื่อ กฟผ. ปล่อยก๊าซเกิน ๗๘๐ และ ๑,๓๐๐ ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตั้งแต่พฤศจิกายน๒๕๓๕ ถึงมิถุนายน ๒๕๓๘ จึงต้องรับผิดตาม มาตรา ๙๖ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๓๕ และเมื่อโรคจากก๊าซซัลเฟอร์ ฯ จะมีอาการเกี่ยวกับโรคทางเดินหายใจ และทำให้เยื่อบุจมูก เยื่อบุคอ เยื่อบุตาอักเสบ ประกอบกับราษฎรดังกล่าวได้รับ SO2 เป็นเวลา๖๗ เดือน ใน ๗๐ เดือน จึงเชื่อว่าผู้ฟ้องคดีเฉพาะที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวป่วยเป็นโรคดังกล่าวจริง แต่จากอาการของโรคดังกล่าว ราษฎรบางรายที่ทนไม่ได้จะไปหาแพทย์ บางรายที่ทนได้ก็จำต้องทำมาหาเลี้ยงชีพต่อไปหรือบางรายก็ต้องอยู่แต่ในบ้านเรือนไม่ออกไปข้างนอก ศาลจึงกำหนดค่าเสียหายเป็นค่าเสื่อมสุขภาพอนามัย และจิตใจแก่ราษฎรที่อยู่ในพื้นที่จริง ตามพฤติการณ์และความร้ายแรงของการกระทำ ตามปริมาณและจำนวนครั้งที่ กฟผ. ปล่อย SO2 โดยส่วนใหญ่จะได้รายละ ๒๔๖,๙๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยคดีที่ ๒ เป็นเรื่องการทำเหมืองถ่านหินของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นคดีที่ราษฎรฟ้องว่า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยไม่ทำตามเงื่อนไขในประทานบัตรและมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยต่อสู้คดีว่า
    ๑. ราษฎรดังกล่าวมิใช่เป็นผู้เสียหายเพราะอยู่นอกเขตผลกระทบ ๕ กิโลเมตร
    ๒. คดีขาดอายุความ
    ๓. ในส่วนเนื้อหาของคดีการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ต่อสู้คดีว่าได้ปฏิบัติตาม
    เงื่อนไข
    ส่วนกรณีความเสียหายนั้น ไม่ปรากฏว่า การฝ่าฝืนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ
    ไทยทำให้รัฐและผู้ฟ้องคดีเสียหายอย่างไร ศาลจึงไม่กำหนดค่าเสียหายให้

    ที่มา:Thailawtoday
    (นางสาว ศิริลักษณ์ แก่นสา 52116603038 หลักสูตร การจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและอุตสาหกรรม)

    ตอบลบ
  17. 2 ช้างพัง'โม่ชะ-โมตาลา'ได้ขาเทียมอันใหม่

    มูลนิธิเพื่อนช้างรับมอบขาเทียมอันใหม่เป็นของขวัญให้ "พังโม่ชะ -โม่ตาลา" ที่ประสบอุบัติเหตุเหยียบกับระเบิดที่ฝั่งประเทศพม่าจนเท้าพิการ เพื่อให้ช้างทั้ง 2 เชือกมีความสุขกับการเดินด้วยขาทั้ง 4 ข้าง..

    เมื่อวันที่ 2 ม.ค. มูลนิธิเพื่อนช้าง เป็นตัวแทนรับมอบขาเทียมจาก นพ.เทอดชัย ชีวะเกตุ เลขาธิการมูลนิธิขาเทียมแห่งประเทศไทย ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เพื่อนำไปสวมใส่ให้กับพังโม่ตาลา อายุ 48 ปี และพังโม่ชะ อายุ 4 ปี 2 เดือน ที่ประสบอุบัติเหตุเหยียบกับระเบิดที่ฝั่งประเทศพม่าจนเท้าพิการ

    สำหรับขาเทียมของพังโม่ตาลา นับว่าเป็นขาเทียมอันที่ 3 ที่มีการปรับปรุงแก้ไขใหม่จากอันที่ 1 และ 2 ที่ชำรุดจากการนอนทับ ส่วนพังโม่ชะ เป็นขาเทียมอันที่ 4 ที่มีแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามขนาดการเจริญเติบโต ซึ่งทางมูลนิธิขาเทียมฯ มอบให้เป็นของขวัญปีใหม่ โดยช้างทั้ง 2 เชือกสามารถใช้ขาเทียมได้ดีและมีความสุขกับการเดินด้วยขาทั้ง 4 ข้าง.

    ที่มา : น.ส.พ.ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 2 มกราคม 2553

    นางสาวภคพร โศจิศิริกุล 52116603005 หลักสูตร การจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและอุตสาหกรรม

    ตอบลบ
  18. เตือน "แพลงก์ตอน" พิษเปลี่ยนทะเลเป็นสีแดง
    เกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากแพงค์ตอนพืชเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจนเป็นเหตุให้น้ำทะเลเปลี่ยนเป็นสีเกิดที่ชายฝั่งทะเล จ.สมุทรปรากร เป็นระยะทางยาวไม่ต่ำกว่า 5 กิโลเมตร จุดที่เกิดเหตุได้แก่ อ.พระสมุทร์เจดีย์ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ และปากอ่าวแม่น้ำเจ้าพระยา สาเหตุปรากฏการณ์นี้เกิดจากการเจริญเติบโตของแพลงค์ตอนเซอราเทียม (Ceratium spp.) และน็อกติลูก้า (Noctiluca spp.) ที่ได้รับสารอาหาร เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และน้ำเสียอื่นๆ จากโรงงานอุตสาหกรรม ประกอบกับขณะนี้มีลมตะวันออกเฉียงเใต้พัดแพลงก์ตอนมารวมกนในบริเวณดังกล่าว ทำให้แพลงก์ตอนมีมากขึ้นและเติบโตอย่างรวดเร็ว คาดว่าจะปรากฏอยู่เช่นนี้เป็นเวลาประมาณ 1 เดือนไปเก็บตัวอย่าง พบว่ามีแพลงก์ตอนเซอราเทียมในน้ำทะเล 1 ลิตร พบแพลงก์ตอนเซอราเทียมในทะเล 90,375 ตัว ซึ่งในบริเวณดังกล่าวไม่ควรจะเกิน 1,000 ตัวต่อน้ำ 1 ลิตร นอกจากนี้ปลาตัวเล็กเริ่มตายแล้ว ถ้าแพลงก์ตอนนี้ทวีจำนวนมากขึ้นก็จะมีผลกระทบทำให้ปลาที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้ตามชายฝั่งตายได้ และประชาชนที่ลงไปเล่นน้ำก็จะเป็นผื่นคันตามตัว สาเหตุที่ทำให้แพลงก์ตอนเจริญเติบโตเร็วนั้นมาจากน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม และปุ๋ยเคมีที่เกษตรกรใช้บำรุงพืชในสวน

    ที่มา
    http://reocities.com/RainForest/wetlands/3212/greennews.html

    นางสาวยุพนรัตน์ พงษ์นัยรัตน์ 52116603021
    หลักสูตรการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและอุตสาหกรรม

    ตอบลบ
  19. ข่าวเรื่อง : วิกฤติปะการังฟอกขาว ความรุนแรง-ฟื้นฟูนาน 20 ปี

    ปัญหาปะการังฟอกขาว ที่พบมากในแถบทะเลอันดามันทางฝั่งเหนือ เกาะพีพี และ เกาะบริวารของภูเก็ต ซึ่งปรากฏการณ์นี้เป็นผลจากอุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้น เพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกปรากฏการณ์เอลนีโญ แต่หน่วยงานรัฐที่ทำหน้าที่ดูแลปะการังก็เพิ่งมาตื่นตัว เพราะปัญหาการฟอกขาวเริ่มรุนแรงมากขึ้น
    ผลกระทบจากปัญหาปะการังฟอกขาว คงหนีไม่พ้นเรื่องของการท่องเที่ยว เพราะทะเลแถบอันดามันขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งดำน้ำระดับโลกแห่งหนึ่ง ในปีหนึ่งๆ จึงมีนักท่องเที่ยวดำน้ำดูปะการังจำนวนนับแสนราย และการที่มีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ได้ไปรบกวนแหล่งที่อยู่อาศัยของปะการังทำให้เสื่อมโทรมลง
    ตอนนี้ไม่ว่าจะในเขตอุทยานหรือนอกเขตอุทยานก็ได้รับผลกระทบเหมือนกันหมด แม้แต่แปลงเพาะเลี้ยงปะการังตัวอ่อนยังมีการฟอกขาว ส่วนเรื่องการจำกัดนักท่องเที่ยวก็เป็นอีกมาตรการที่จะบังคับใช้อย่างจริงจัง โดยได้กำหนดนักท่องเที่ยวไว้ให้ลงดำน้ำได้ครั้งละไม่เกิน 15 คน หากผู้ประกอบการท่องเที่ยวไม่ทำตามกฎก็จะใช้มาตรการทางกฎหมายอุทยานแห่งชาติ มาตรา 16 วรรค 18 เอาผิดและจะอายัดใบอนุญาตประกอบกิจการจากผู้ประกอบการที่ฝ่าฝืนด้วย" นายสุนันต์กล่าว
    แม้การแก้ไขปัญหาปะการังฟอกขาวในท้องทะเลอันดามันจะต้องแลกกับการสูญเสียแหล่งท่องเที่ยว และแลกกับสูญเสียรายได้ในระยะเวลายาวนานกว่า 20 ปี หรืออาจจะมากกว่านั้น เพื่อให้เวลาเยียวยาธรรมชาติให้ท้องทะเลกลับที่สวยงามและสมบรูณ์ดังเดิม แต่หากเราทุกคนยังไม่ตระหนักถึงปัญหาโลกร้อนที่ทุกคนเป็นผู้ก่อปัญหา ดังนั้นไม่ว่าการแก้ปัญหานี้จะใช้เวลานานเท่าใด จะ 20 ปีหรือมากกว่านั้นก็ไม่คุ้มค่า หากวันนี้ธรรมชาติจะเอาคืนแล้ว!

    ที่มา: http://www.thaipost.net/sunday/230111/33236
    นางสาว จัตตุภรณ์ จันเสนี 52116603040
    หลักสูตร การจัดการสิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรม

    ตอบลบ
  20. รัฐบาลเตรียมแก้กฎหมายสิ่งแวดล้อมแก้ปัญหามาบตาพุด

    กรุงเทพฯ 11 ต.ค.- นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ "เชื่อมั่นประเทศไทย กับนายกฯ อภิสิทธิ์" ว่า กรณีศาลปกครองกลางสั่งระงับ 76 โครงการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ยอมรับว่าเห็นใจทั้งประชาชนและภาคธุรกิจ ขณะที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนมาเป็นเวลานาน และหากมีการขยายการลงทุนเพิ่มเติมอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพมากขึ้น ขณะที่ภาคธุรกิจได้รับผลกระทบต้องหยุดชะงักการลงทุน จนกระทบต่อการจ้างงาน และอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ได้ขายวัตถุดิบและชิ้นส่วน

    รัฐบาลจึงพยายามหาความพอดีให้กับทุกฝ่าย เพื่อดำเนินการตามมาตรา 67 ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีผลบังคับใช้ในปี 2550 จากการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งรัดการวางกติกาดำเนินโครงการลงทุนที่เข้าข่ายมาตรา 67 วรรค 2 โดยจะแก้ไขกฎหมายสิ่งแวดล้อม หากโครงการใดมีผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ต้องมีรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และเปิดโอกาสให้องค์กรอิสระ ซึ่งประกอบด้วยองค์กรที่ทำงานด้านสิ่งแวดล้อม นักวิชาการในสถาบันอุดมศึกษามาให้ความเห็นก่อนที่จะดำเนินการ โดยจะนำร่างกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรต่อไปภายในปลายเดือนตุลาคมนี้หรือต้นเดือนพฤศจิกายน

    ทั้งนี้ เพื่อให้มีกติกาชัดเจนและการดำเนินการต่าง ๆ อย่างชัดเจน เพราะเมื่อพิจารณารัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรค 2 ไม่ได้กำหนดว่า ต้องมีกฎหมายเพิ่มเติม ดังนั้น ระหว่างนี้จะอาศัยกฎหมายที่มีอยู่ไปออกระเบียบ ให้สอดคล้องกับสาระกฎหมายใหม่ที่มีการแก้ไข ขณะเดียวกัน ต้องทำความเข้าใจกับนักลงทุนต่างขาติให้นักลงทุนเข้าใจว่า เรื่องการใช้อำนาจศาลเป็นเรื่องที่ต้องยอมรับและเคารพ ซึ่งประเทศที่พัฒนาแล้วและมาลงทุนในประเทศไทยต่างเข้าใจ และกระบวนการที่ต้องทำตามมาตรา 67 วรรค 2 ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากการปฏิบัติในช่วงที่ผ่านมา. - สำนักข่าวไทยอัพเดตเมื่อ 2009-10-11 11:11:45



    ที่มา : สำนักข่าวไทย
    นางสาว สุธาทิพย์ สอนสงวน 52116603026

    ตอบลบ
  21. ดร.สุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยถึงความคืบหน้าการแก้ไขปัญหามลพิษมาบตาพุด จ.ระยอง ว่า ขณะนี้ทาง คพ.กำลังสรุปผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหามลพิษมาบตาพุด ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา เสนอต่อนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ หลังจากที่ได้มีการแต่งตั้งคณะทำงาน 2 ชุดเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษในพื้นที่มาบตาพุด โดยเฉพาะการหาความสัมพันธ์ทางด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนกับมลพิษในพื้นที่ และการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านต่างๆ ภาพรวมถือว่ามีความก้าวหน้าค่อนข้างมาก เนื่องจากมีการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งภาคเอกชนในการร่วมกันจัดการมลพิษในจังหวัดระยอง ทำให้สามารถควบคุมการระบายก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และไนโตรเจนไดออกไซด์ ที่เคยมีค่าความเข้มในบรรยากาศสูงให้กลับมาอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานได้
    อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวต่อว่า ส่วนที่ยังคงเป็นปัญหาหลักคือเรื่องกลิ่นเหม็นรบกวน ซึ่งชาวบ้านแถวชุมชนซอยร่วมพัฒนา และชุมชนโสภณ ที่อยู่รอบนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดยังได้รับผลกระทบเป็นครั้งคราวจากกลิ่นเหม็นคล้ายๆ กลิ่นไหม้ กลิ่นน้ำมัน ขณะที่บริเวณชุมชนบ้านฉางใกล้กับนิคมเอเชีย ก็ร้องเรียนเรื่องกลิ่นเหม็นของอะซิติกเอซิค โดย คพ.ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ลงไปติดตามสภาพปัญหา รวมทั้งหาแหล่งกำเนิดของกลิ่นเหม็นดังกล่าวแล้ว ซึ่งเบื้องต้นสันนิษฐานว่ากลิ่นเหม็นที่มาบตาพุดมาจากโรงงานที่ผลิตผ้าเบรกเอบีเอส
    ส่วนปัญหาสารอินทรีย์ระเหยในบรรยากาศ ที่มีแหล่งกำเนิดจุดรั่วซึมจากโรงงานอุตสาหกรรม คาดว่าจะแก้ปัญหาได้ครบ 100% ภายในเดือนมีนาคมนี้ ขณะที่การระบาย VOCs จากปล่องโรงงานอุตสาหกรรมตั้งเป้าให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดภายใน 3 ปี “อย่างไรก็ตาม การจะประกาศเขตควบคุมมลพิษมาบตาพุดหรือไม่ คงขึ้นกับรัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาบริหารประเทศว่าจะตัดสินใจอย่างไรกับเรื่องนี้” ดร.สุพัฒน์ กล่าว
    ส่วนการจัดการคุณภาพน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่มีการระบายสารมลพิษทางน้ำ เช่น บีโอดี ซีโอดี ทีดีเอส ตะกั่ว เซเลเนียม เหล็ก แมงกานีส แคดเมียม ตั้งเป้าให้เป็นไปตามมาตรฐาน 100% ภายในเดือนมีนาคมนี้ ส่วนน้ำทิ้งชุมชนในพื้นที่มาบตาพุด หลังจากมีการวางแนวท่อดักน้ำเสียของเทศบาลคาดว่าใน อีก 3 - 4 ปีจะลดน้ำเสียลงได้ 50% ซึ่งในการดำเนินการต่อจากนี้จะมีการเข้าไปตรวจสอบและแก้ปัญหาอย่างใกล้ชิด
    นอกจากนี้ ดร.สุพัฒน์ ยังกล่าวว่าถึงผลกระทบที่เกิดจากการเพิ่มสูงขึ้นของฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอนในหลายพื้นที่ของกรุงเทพฯ คาดว่าในช่วงวันที่ 16 - 18 มกราคมนี้ บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมไทย อาจส่งผลให้เกิดการสะสมสารมลพิษในบรรยากาศ โดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็กและก๊าซโอโซนที่มีระดับเกินมาตรฐาน ดังนั้น เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจควรหลีกเลี่ยงออกนอกบ้านในช่วงนี้
    ด้าน นายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก กล่าวว่า หลังจากกลุ่มได้ฟ้องศาลปกครองกรณีที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ไม่ยอมประกาศเขตควบคุมมลพิษ ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2550 และหลังจากนั้น 2 เดือนทาง คพ.ได้ทำหนังสือคัดค้านคำฟ้อง ซึ่งมีคำคัดค้านที่ขัดแย้งกันเองว่าท้องถิ่นไม่มีศักยภาพในการดูแลจัดการปัญหาได้ โดยเครือข่ายจะส่งให้ศาลปกครองตีความหนังสือคัดค้านของคพ.อีกครั้งในวันที่ 21 มกราคมนี้

    ที่มาของข้อมูล : หนังสือพิมพ์มติชน ประจำวันที่ 31 ธันวาคม 2552

    นางสาว ฐาปณี วงษ์มา 52116603041
    หลักสูตร การจัดการสิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรม

    ตอบลบ
  22. นางสาวทิพวรรณ มหามิตร รหัส52116603044
    หลักสูตร การจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและอุตสาหกรรม
     
    "ปัญหาขยะพลาสติก ทำลายสิ่งแวดล้อมในเอเชีย"
    ในยุคสมัยที่มีการใช้พลาสติกทั่วไปนั้น มีขยะพลาสติกเป็นปริมาณมากมายท่วมท้นตามที่ทิ้งขยะในประเทศต่างๆ ในเอเชีย และไหลหลุดไปอยู่ในทะเลและเป็นอันตรายต่อสัตว์และพืชในน้ำ
     
    ตอนนี้ นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและผู้ประกอบกิจการต่างๆ กำลังพยายามดำเนินงานในการแปรรูปพลาสติกให้กลับสู่สภาพสารประกอบเดิม คือ น้ำมัน
     
    นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าในบริเวณตอนเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิค มีขยะพลาสติกสุมอยู่มากมายก่ายกองเป็นบริเวณกว้างขวางใหญ่โตขนาดราวครึ่งหนึ่งของพื้นที่รัฐเท็กซัส หรือราว 1 ใน 4 ของพื้นที่ประเทศไทย คิดเป็นน้ำหนักรวมแล้วราว 300 ล้านตัน และกำลังเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล นอกจากนั้น กระแสน้ำในมหาสมุทรยังมีขยะจากบริเวณตอนเหนือของเอเชีย และตอนเหนือของทวีปอเมริกาอีกด้วย
    กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่ง กับบรรดาผู้ประกอบกิจการจากฮ่องกง จากรัฐคาลิฟอร์เนียในสหรัฐ และจากกรุงลอนดอน จัดตั้งโครงการ Kaisei ขึ้นมาเพื่อแปรรูปขยะพลาสติกให้เป็นเชื้อเพลิงดีเซล คำว่า Kaisei เป็นภาษาญี่ปุ่น แปลว่า "โลกมหาสมุทร"
     
    Doug Woodring หัวหน้าโครงการนี้กล่าวว่า ปัญหาขยะพลาสติกนั้น ส่วนใหญ่อยู่ที่พลาสติกไม่ย่อยสลายทางชีวภาพ ไม่กลับสู่ธรรมชาติ แม้จะแตกสลายมีขนาดเล็กลง แต่เศษที่เหลืออยู่ยังเป็นอันตราย เพราะเหล่านก ปลา ปู เต่า สัตว์น้ำทั้งหลายมากินโดยนึกว่าเป็นอาหาร ด้วยเหตุนี้ จึงมีปัญหามากมายด้านสุขภาพ หรือสภาพของมหาสมุทรและสิ่งมีชีวิตในทะเล
     
     
     
    ในประเทศไทยนั้น มีการดำเนินงานแปรรูปขยะพลาสติกร่วมกับเทศบาลจังหวัดระยอง ซึ่ง บริษัท Single Point Energy and Environment กำลังแปรรูปขยะพลาสติกให้เป็นเชื้อเพลิงเหลวแล้วขายให้แก่โรงกลั่นน้ำมัน
     
    หลังจากได้รับการเตือนจากบรรดานักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รัฐบาลประเทศต่างๆ ในเอเชียกำลังเริ่มเข้ามาดำเนินการกับปัญหาขยะพลาสติก ฮ่องกงเรียกเก็บภาษีถุงพลาสติกใส่ของประเทศไทยกำลังศึกษาพิจารณาการเก็บภาษีพลาสติกที่ทำจากน้ำมัน และรัฐบาลของอีก 2–3 ประเทศกำลังดำเนินงานแปรรูปขยะพลาสติกให้เป็นพลังงานเชื้อเพลิงโดยตรง
     
    ดร. สันติวิภา พานิชกุล กล่าวว่า แม้ว่าเครื่องแปรรูปขยะพลาสติกเครื่องหนึ่งๆ จะราคาค่อนข้างสูง คือตกราวเครื่องละ 2 ล้านดอลลาร์ แต่เทศบาลในสองเขตในประเทศไทย กำลังใช้เทคโนโลจีของบริษัทนี้ ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า รัฐบาลประเทศต่างๆ ในเอเชียเต็มใจที่จะยอมจ่ายเงินจำนวนมากเพื่อทำให้สิ่งแวดล้อมสะอาดขึ้น
     
    ที่มา:http://www.voanews.com/thai/news/a-47-2009-07-24-voa3-90653099.html

    ตอบลบ
  23. ข่าวเรื่อง “กฎหมายจัดการทรัพยากรน้ำ”คลุมเครือ สั่ง มธ.ปรับใหม่ “เอื้อราษฎร์
    เอื้อหลวง”

    โดย ผู้จัดการออนไลน์ 15 สิงหาคม 2546

    กรมทรัพยากรน้ำ มอบหมายให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    ทำการศึกษาเพื่อปรับปรุงและจัดทำกฎหมายที่เกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ
    เพื่อให้มีกฎหมายแม่บทในการบริการจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ
    รวมทั้งศึกษาเพื่อแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำที่ล้าสมัยให้
    สอดคล้องกับสถานการณ์
    นายสุรชัย ศศิสุวรรณ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ
    เปิดเผยว่า ในปัจจุบันการบริหารจัดการทรัพยากร
    น้ำของประเทศมีปัญหามาก เนื่องจากทรัพยากรน้ำ
    มีจำกัด แต่ความต้องการใช้น้ำเพิ่มมากขึ้น ส่งผล
    ให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับน้ำ เช่นการขาดแคลนน้ำใน
    บางพื้นที่ทำให้เกิดการแย้งน้ำกัน ปัญหาน้ำท่วม
    ปัญหามลพิษทางน้ำเนื่องมาจากการปล่อยของเสีย
    จากชุมชน น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม การใช้
    เคมีในการเกษตรกรรม การสูญเสียแหล่งน้ำจาก
    การตัดไม่ทำลายป่า การเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำ
    เนื่องจากการขาดการดูแลรักษา ทั้งนี้กลไกสำคัญ
    ประการหนึ่ง ที่จะแก้ปัญหาดังกล่าวให้เกิดผล
    ในทางปฏิบัติ คือการปรับปรุงระเบียบ ข้อบังคับ
    และกฎหมายต่างๆ เพื่อกำหนดแนวทางในการ
    พัฒนาอนุรักษ์ฟื้นฟู และการบริหารจัดการรวมทั้ง
    ควบคุม ดูแล กำกับ ประสาน ติดตามประเมินผล และแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ
    ทรัพยากรน้ำ
    “ปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวกับทรัพยากรน้ำมากมาย แต่ไม่
    สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจาก
    กฎหมายดังกล่าวกระจายอยู่ในหลายหน่วยงาน ทำให้เกิดความซับซ้อน
    กฎหมายบางฉบับประกาศใช้มานานจึงมีเนื้อหาล้าสมัยและไม่เหมาะสมกับ
    สภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน ประกอบกับการขาดหน่วยงานหลักที่จะ
    รับผิดชอบด้านการบริหาร จัดการทรัพยากรน้ำโดยเฉพาะ ทำให้การบังคับใช้
    ตามกฎหมายเป็นไปอย่างขาดความเป็นเอกภาพ และไม่สามารถแก้ไขปัญหา
    เกี่ยวกับทรัพยากรน้ำได้ตรงตามความต้องการอย่างแท้จริง”
    ดังนั้นเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบังคับใช้และแก้ไขกฎหมายที่มี
    นายสุรชัย ศศิสุวรรณ
    อธิบดีกรมทรัพยากร
    น้ำ
    ความล้าสมัยให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้กรม
    ทรัพยากรน้ำดำเนินการปรับปรุงกฎหมายน้ำและจัดทำร่างพระราชบัญญัติ
    ทรัพยากรน้ำขึ้น เพื่อนำเสนอคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติและ
    คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ นายสุรชัยกล่าวต่อว่า“เมื่อการปรับปรุง
    กฎหมายน้ำและการจัดทำร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำแล้วเสร็จจะทำให้มี
    กฎหมายมาบังคับใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำได้เป็นอย่างดีซึ่งกรม
    ทรัพยากรนํ้าได้ว่าจ้างให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เปน็ ผู้ดำเนินการและทำการ
    เซ็นสัญญาแล้วเมื่อวันที่14 สิงหาคมที่ผ่านมา”
    ด้านรศ.ดร.อำนาจ วงศ์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หัวหน้าทีมที่
    ปรึกษาในการร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ กล่าวว่า “ร่างพระราชบัญญัติฯ
    ฉบับนี้จะเน้นให้มีมีส่วนรวมของประชาชน องค์กรเอกชน และหน่วยงานภาครัฐ
    เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการเสนอความคิดเห็นตั้งแต่เริ่มต้น จะมีการลงพื้นที่
    เพื่อดูปัญหาจริง จากนั้นจึงนำมาประมวล แล้วจึงร่างเป็นประเด็นไป ซึ่งจะต้อง
    มีการทำประชาพิจารณ์ให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็น หากมีข้อโต้แย้ง
    ขัดแย้ง ก็ต้องหาทางปรับกันใหม่จนกว่าจะลงตัว”
    ทั้งนี้ในสัญญาว่าจ้างให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นผู้ดำเนินการร่าง
    พระราชบัญญัติฯฉบับดังกล่าวมีระยะเวลา 1 ปี ใช้งบประมาณร่วม 4 ล้านบาท
    โดยในทีมที่ปรึกษาจะประกอบไปด้วยนักกฎหมาย ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวะแหล่ง
    น้ำ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านการมีส่วน ร่วมของชุมชน เป็นต้น

    ที่มาของข่าว:http://www.dwr.go.th/contents/content/files/001007/0000529_1.pdf

    นายธวัชชัย ศรีสอาด รหัส 52116603029

    หลักสูตร การจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและอุตสาหกรรม

    ตอบลบ
  24. สมาคมผู้สร้างบ้านสหรัฐคาดกฎหมายสิ่งแวดล้อมอาจสกัดการฟื้นตัวของตลาดอสังหาฯ
    สมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB) คาดการณ์ว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์จะฟื้นตัวช้าลง เนื่องจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติได้ออกร่างกฎหมายที่กำหนดว่าการสร้างบ้านหลังใหม่ในสหรัฐจะต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและการประหยัดพลังงาน โดยร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวได้ผ่านมติเบื้องต้นจากสภาผู้แทนราษฎรแล้ว แต่ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของวุฒิสภาสหรัฐ
    บิล คิลเมอร์ รองประธาน NAHB กล่าวว่า ร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวระบุว่าบ้านหลังใหม่จะต้องใช้ฉนวนกันความร้อนมากขึ้น พร้อมทั้งมีประตูและหน้าต่างที่มีประสิทธิภาพ และต้องมีระบบทำความเย็นและความร้อนที่จะช่วยให้ใช้พลังงานน้อยลง การเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่เช่นนี้จะทำให้การสร้างบ้านแต่ละหลังมีต้นทุนเพิ่ม 4,000-10,000 ดอลลาร์
    ทั้งนี้ ประธานาธิบดีบารัค โอบามา มีเป้าหมายที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจและสร้างมาตรฐานใหม่ในการประหยัดพลังงาน
    การคาดการณ์ของ NAHB ได้สร้างความวิตกกังวลว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์อาจจะไม่ฟื้นตัวเร็วเหมือนกับที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ โดยก่อนหน้านี้มีกระแสคาดการณ์ว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์จะเริ่มมีเสถียรภาพ หลังจากตัวเลขสร้างบ้านในเดือนมิ.ย.พุ่งขึ้น 3.6% แตะระดับ 582,000 ยูนิตต่อปี ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือน
    ขณะที่สมาคมนายหน้าค้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐรายงานว่า ดัชนีการทำสัญญาซื้อบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) ประจำเดือนมิ.ย.เพิ่มขึ้นเกินคาดและเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5
    ทั้งนี้ ราคาบ้านและ อัตราดอกเบี้ยเพื่อการซื้อบ้านที่ปรับตัวลดลงช่วยหนุนยอดขายบ้านปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งช่วยให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์มีเสถียรภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตาม อัตราว่างงานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอาจเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ บลูมเบิร์กรายงาน

    นาย จะเด็ด สุดสนาม 52116603034

    ตอบลบ
  25. GMO-เอเลี่ยนสปีชีส์
    เวทีประชุม "5 ปีอนุวัตการพิธีสารคาร์ตาเฮน่าว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ" ที่สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ในโอกาสครบรอบ 5 ปี การเข้าเป็นภาคีพิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพของประเทศไทย ยุคที่โลกไร้พรมแดนเรื่องสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม ที่เรียกว่า GMO และชนิดพันธุ์ต่างถิ่น หรือเอเลี่ยนสปีชีส์ ยังเป็นเรื่องหนักอกที่รัฐต้องจัดการลดความเสี่ยงและหามาตรการกำกับดูแลที่จริงจัง เพื่อป้องกันผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ ตลอดจนสุขภาพคนไทย
    พิธีสารคาร์ตาเฮนาถูกนำมาใช้เพื่อจัดการกับการใช้ประโยชน์จีเอ็มโอ ตั้งแต่ควบคุมดูแลการเคลื่อนย้าย บรรจุหีบห่อ ระบุจำแนก ถือเป็นความตกลงระหว่างประเทศที่มีพันธะผูกพันเกี่ยวกับความปลอดภัยทางชีวภาพ และไทยเข้าเป็นภาคีพิธีสารนี้ตั้งแต่ 5 ปีก่อน ซึ่งก็มีผลบังคับใช้มาจนทุกวันนี้
    ปัจจุบันมี 160 ประเทศ เข้าเป็นภาคีพิธีสารคาร์ตาเฮนา ขณะเดียวกันไทยเข้าเป็นภาคีพิธีสารฯ ครบ 5 ปีแล้ว โดยพิธีสารจะควบคุมสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมในสภาพที่มีชีวิต จึงใช้คำว่า living modified organism (LMO) แทน GMO หรือ genetical modified organism หัวใจ คือ เรื่องการควบคุมเคลื่อนย้ายข้ามประเทศ ประเทศผู้นำเข้าได้รับข้อมูลประกอบการตัดสินใจก่อนเห็นชอบนำเข้า ทั้งยังเน้นการประเมินความเสี่ยงและใช้แนวทางระมัดระวังล่วงหน้า ในพิธีสารยังกำหนดให้ประเทศภาคีจัดทำมาตรการ กลไกควบคุมความเสี่ยงบังคับใช้ และกำหนดมาตรการประเมินความเสี่ยงก่อนปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่ง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำกรอบงานแห่งชาติในเรื่องนี้แล้ว
    "แต่ไทยยังไม่อนุญาตให้นำเข้า LMO มีการอนุญาตให้นำเข้าเฉพาะศึกษาวิจัยเท่านั้น และ อย.ห้ามนำเข้า LMO ที่จะมาใช้ทำอาหารหรืออาหารสัตว์ ยกเว้นข้าวโพดและถั่วเหลือง 5 ปีที่ผ่านมา แม้ไทยยังไม่มีรายงานตามพิธีสารชัดเจน แต่เราทำงานตามกฎหมาย รวมทั้งขั้นตอนประเมินความปลอดภัยทางชีวภาพที่มีอยู่แล้วของไทย ทำให้ไทยอนุวัตการพิธีสารได้ดี ส่วนร่าง พ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพผ่าน ครม.แล้ว อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา " เลขาธิการ สผ.ย้ำ ทั้งยังระบุครบ 5 ปี ไทยได้เปิดศูนย์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารความปลอดภัยทางชีวภาพของประเทศ ที่เรียกว่า BCH ตามมาตรา 20 ของพิธีสาร
    ที่มา ไทยโพสต์ออนไลน์ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2554
    นางสาวขวัญฤทัย สร้อยวิทยา รหัส 52116603007
    ตอนเรียน A1 หลักสูตรการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและอุสาหกรรม

    ตอบลบ