หลักสูตรการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและอุตสาหกรรม

หลักสูตรการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและอุตสาหกรรม
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เกร็ดความรู้เรื่องเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม

สรุปเกร็ดความรู้ พร้อมระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

36 ความคิดเห็น:

  1. นางสาวจันทัปปภา เรียงสูง รหัส 51116603022
    หลักสูตร การจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและอุตสาหกรรม

    1.เงินเฟ้อ

    คือ ภาวะการณ์ที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นแต่เพียงเล็กน้อยเป็นปกติก็จะสร้างสิ่งจูงใจแก่ผู้ประกอบการ แต่หากเพิ่มขึ้นมากและผันผวนก็จะสร้างความไม่แน่นอนและก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการครองชีพของประชาชน และการขาดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ในประเทศไทยเงินเฟ้อวัดจากอัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภค ซึ่งเป็นดัชนีที่จัดทำโดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ โดยคำนวณจากค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของราคาสินค้าและบริการต่างๆ ที่ผู้บริโภคซื้อหาเป็นประจำ โดยน้ำหนักของสินค้าและบริการแต่ละรายการกำหนดจาก รูปแบบการใช้จ่ายของครัวเรือนซึ่งได้จากการสำรวจ ตามหลักทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์

    การเกิดภาวะเงินเฟ้อมาจาก 2 ปัจจัยหลัก
    ปัจจัยแรก คือ แรงดึงทางด้านอุปสงค์ เกิดขึ้นจากระบบเศรษฐกิจมีความต้องการปริมาณสินค้าและบริการมากกว่าที่มีอยู่ในขณะนั้นๆจึงดึงให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของความต้องการสินค้าและบริการอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงิน การดำเนินนโยบายการคลังของภาครัฐบาล การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ในต่างประเทศ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของประชาชนปัจจัยที่สองเกิดจากด้านต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ทำให้ผู้ผลิตต้องปรับราคาสินค้าขึ้น สาเหตุที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น อาทิ การเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงาน การเกิดวิกฤตการณ์ทางธรรมชาติ การเพิ่มกำไรของผู้ประกอบการ การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้านำเข้า ซึ่งอาจเพิ่มไปตามภาวะตลาดโลก หรือผลของอัตราแลกเปลี่ยน

    2. เงินฝืด

    คือ ภาวะการณ์ที่ระดับราคาสินค้าและบริการลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีความหมายตรงกันข้ามกับคำว่าเงินเฟ้อ ทั้งนี้ อาจมีสาเหตุหลายประการ เช่น การเพิ่มขึ้นของอุปทาน การหดตัวของอุปสงค์ การลดลงของต้นทุนจากปัจจัยอัตราแลกเปลี่ยน หรือมาตรการปรับลดภาษี และการที่ปริมาณเงินหมุนเวียนมีไม่เพียงพอต่อขนาดของระบบเศรษฐกิจ เป็นต้น

    ที่มา : http://money7forex.blogspot.com/2009/02/forex_2079.html

    ตอบลบ
  2. นางสาว ประภาภรณ์ สันเพ็ง รหัส 51116603031
    หลักสูตร การจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและอุสาหกรรม


    หนี้ต่างประเทศ (External Debt)

    หมายถึง ยอดคงค้างหนี้สินส่วนที่ไม่ใช่ทุนเรือนหุ้นของผู้มีถิ่นฐานในประเทศก่อขึ้นกับผู้มีถิ่นในต่างประเทศ ทั้งหนี้สินที่มีดอกเบี้ย หรือไม่มีดอกเบี้ย โดยมีภาระผูกพันที่จะต้องชำระคืนเงินต้น โดยรวมหนี้สินทุกสกุลเงินและทุกประเภทของการกู้ยืม

    หนี้ภาคทางการ หมายถึง หนี้ต่างประเทศที่ภาคทางการเป็นผู้ก่อขึ้นกับผู้มีถิ่นฐานในต่างประเทศประกอบด้วยหนี้ของรัฐบาลกลาง (กู้ในนามรัฐบาลไทย) หนี้ของรัฐวิสาหกิจ และหนี้ของเอกชนที่รัฐบาลค้ำประกันรวมทั้งหนี้ของ ธปท.

    หนี้ภาคเอกชน หมายถึง หนี้ต่างประเทศที่ภาคเอกชนเป็นผู้ก่อขึ้นกับผู้มีถิ่นฐานในตางประเทศ ประกอบด้วยหนี้ของภาคธุรกิจธนาคาร (ธนาคารพาณิชยและกิจการวิเทศ ธนกิจ) และภาคธุรกิจที่มิใช่ธนาคารอาทิ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ นิติบุคคลที่ประกอบการค้า การผลิต และบุคคลธรรมดา

    หนี้ระยะยาว หมายถึง หนี้ต่างประเทศที่มีระยะเวลาครบกำหนดมากกว่า 1 ปี

    หนี้ระยะสั้น หมายถึง หนี้ต่างประเทศที่มีระยะเวลาครบกำหนดน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1

    ตอบลบ
  3. นางสาวชิพราพร ทะสุด รหัส 51116603048
    หลัดสูตร การจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและอุตสาหกรรม
    การประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของสิ่งแวดล้อม คือ การประเมินคุณค่าที่มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ โดยคุณค่านั้นมีทั้งคุณค่าที่มีการใช้ประโยชน์ และคุณค่าที่ไม่มีการใช้ประโยชน์แต่ว่ามีประโยชน์ ทั้งหมดประเมินออกมาในหน่วยที่วัดได้คือหน่วยของเงิน
    ที่มา http://www.oknation.net/blog/yuttipong/2009/02/07/entry-1

    ตอบลบ
  4. นางสาวจันทัปปภา เรียงสูง รหัส 51116603022
    หลักสูตร การจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและอุตสาหกรรม(แก้ไข)

    การสร้างจริยธรรมทางเศรษฐศาสตร์สีเขียว มีหลักการที่สําคัญ คือ

    1 ในการสนองความต้องการของมนุษย์เพื่อการดํารงอยู่ควรที่จะต้องใช้ ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างระมัดระวังที่สุด ไม่ให้เกิดความเสียหายอย่างมากหรือรุนแรง

    2 เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติ ก็ต้องเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่ยั่งยืน สอดคล้องกับวิถีทางธรรมชาติ

    3 ทรัพยากรมีปริมาณจํากัด จึงต้องใช้แบบประหยัดไม่ล้างผลาญหรือฟุ่มเฟือย

    4 ต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติของโลกอย่างเหมาะสมพอดี

    5 เป็นสิ่งที่ผิด ถ้าเรามองว่า คนและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ คือปัจจัยการผลิต ซึ่งวัดค่าด้วยเงินตรา

    6 ทุกสิ่งที่เรามีในระบบเศรษฐกิจมีตนกําเนิดจากโลกธรรมชาติ และแสงอาทิตย์ ถ้าโลกธรรมชาติล่มสลายเศรษฐกิจก็พังไปด้วย

    7 อย่ากระทําสิ่งใดที่เป็นการทําลายดุลยภาพในโลกธรรมชาติ อันเป็นการ บั่นทอน"ทุนธรรมชาติ"ซึ่งเป็นพื้นฐานสนับสนุนระบบเศรษฐกิจ การขาดดุลยภาพทางธรรมชาติ คือการขาดสมดุลที่ยิ่งใหญ่และร้ายแรงที่สุด

    ที่มา : http://www.rmuti.ac.th/user/thanyaphak/Web%20EMR/Web%20IS%20Environment%20gr.1/contect/1-1-2.html

    ตอบลบ
  5. นางสาว น้ำทิพย์ เรืองอร่าม รหัส 51116603041
    หลักสูตร การจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและอุตสาหกรรม
    เกร็ดความรู้
    ขยะติดเชื้อในโรงพยาบาล
    ขยะติดเชื้อ หมายถึง สิ่งของที่ไม่ต้องการ หรือถูกทิ้งจากสภานพยาบาล อาทิ เนื้อเยื่อ ชิ้นส่วน อวัยวะต่าง ๆ และสิ่งขับถ่าย หรือของเหลวจากร่างกายผู้ป่วย (เช่น น้ำเหลือง น้ำหนอง เสมหะ น้ำลาย เหงื่อ ปัสสาวะ อุจจาระ ไขข้อ น้ำในกระดูก น้ำอสุจิ เลือดและผลิตภัณฑ์เลือด เช่น เซรุ่ม น้ำเลือด รวมทั้งเครื่องใช้ที่สัมผัสกับผู้ป่วย และ หรือสิ่งของดังกล่าวข้างต้น เช่น สำลี ผ้ากอซ กระดาษชำระ เข็มฉีดยา มีดผ่าตัด เสื้อผ้า ลอดจนซากสัตว์ หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ทดลอง ซึ่งทิ้งมาจากห้องตรวจผู้ป่วย เครื่องมือทางเศรษศาตร์ที่เหมาะสมกับขยะติดเชื้อในโรงพยาบาลคือ การจัดเก็บ(Charges) คือ ราคาของมลพิษ หรือมูลค่าความเสียหายหรือการสูญเสีย ทรัพยากรที่ก่อมลพิษ หรือผู้ประโยชน์จะต้องจ่ายการใช้บริการจากสิ่งแวดล้อม
    การเก็บเงิน มี 5 ประเภท ได้แก่
    1.ค่าปล่อยมลพิษ คือ เงินที่ปล่อยสารมลพิษเข้าสู่สิ่งแวดล้อม
    2.ค่าใช้บริการ คือ เงินที่จ่ายสำหรับต้นทุนในการบำบัดหรือกำจัดสารมลพิษรวม(central treatment)ค่าใช้บริการ
    3.ค่าผลิตภัณฑ์ คือ เงินที่บวกเข้าไปไนราคาของผลิตภัณฑ์ที่ทำให้เกิดมลพิษในขั้นตอนของการผลิต
    4.ค่าบริการจัดการ เช่น ค่าธรรมเนียมในการควบคุมและมอบอำนาจ(control and authorization fees) เป็นเงินที่จ่ายสำหรับการบริการจากผู้มีอำนาจตามกฎหมาย
    5.ภาษีที่แตกต่าง ทำให้ราคาสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ไมเป็นปัญหาต่อสิ่งแวล้อมถูกลง หรือทำให้ราคาสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ทำลายสิ่งแวดล้อม
    ดังนั้น การกำจัดขยะติดเชื้อจะยากมาก หากไม่มีข้อกำหนดของเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งทางรัฐจะค่อยดูแลและควบคุมป้องกันในการปล่อยมลพิษ ค่าใช้บริการ ค่าผลิตภัณฑ์ ค่าบริการจัดการ และภาษี ให้ถูกต้องและครองธรรม เพื่อเป็นการรักษาและป้องกันทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดให้ยาวนานที่สุด
    ข้อมูลจาก www.chulabook.com

    ตอบลบ
  6. นางสาวชัชฎาภรณ์ สิทธิมงคล
    รหัส 51116603049

    เศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม
    ในกระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจที่เข้มแข็งเป็นสิ่งสำคัญในการตอบสนองความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ การตอบสนองความต้องการนี้เป็นเรื่องที่ท้าทายในประเทศกำลังพัฒนาในลุ่มแม่ น้ำโขงที่ประชากรส่วนใหญ่ยังคงต้องดิ้นรนเพื่อการอยู่รอดในแต่ละวัน แต่ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในแบบที่เป็นอยู่ปัจจุบันก็ทำให้เกิดปัญหา สิ่งแวดล้อมอย่างมาก กิจกรรมทางเศรษฐกิจในอดีต (และปัจจุบัน) เป็นสิ่งที่คุกคามสุขภาพของมนุษย์และความสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ในระยะยาว (เช่น ภาวะมลพิษทางอากาศ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ทรัพยากรร่อยหรอ สารเคมีที่เป็นพิษ) จึงสมควรที่จะต้องปรับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจแบบดั้งเดิมเสียใหม่เพื่อให้ การพัฒนาส่งผลดีต่อความเป็นอยู่ในสังคมโดยไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม

    ที่มา:http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=386.0

    ตอบลบ
  7. นาย ปฏินันท์ ทิพย์ชิต 51116603014
    การจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและอุตสาหกรรม

    การประเมินทางเศรษฐศาสตร์ของผลกระทบสิ่งแวดล้อม
    การประเมินทางเศรษฐศาสตร์ของผลกระทบสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องสำคัญในการทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพราะเป็นการวิเคราะห์ว่าผลประโยชน์สุทธิจากโครงการจะสูงกว่าผลประโยชน์สุทธิของทางเลือกอื่นๆ หรือไม่ รวมทั้งการเลือกที่จะไม่ทำโครงการด้วย การประเมินทางเศรษฐศาสตร์ของทางเลือกต่าง ๆ ในระยะแรกของการวางแผนโครงการช่วยให้ข้อมูลสำคัญที่จะทำให้ตัดสินใจได้ดีขึ้น ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการแลกเปลี่ยนนั้นไม่อาจจะตีค่าเป็นตัวเงินได้หมดทุกอย่าง แต่ถ้าผู้รับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมและผู้มีอำนาจตัดสินใจของประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงได้เริ่มคิดถึงต้นทุนที่แฝงอยู่ในกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม พวกเขาก็จะเลือกผลทางสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ดีขึ้น ในตอนต่อไปนี้จะได้นำเสนอวิธีการประเมินทางเศรษฐศาสตร์สำหรับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมไว้โดยสังเขป

    ประเด็นในการประเมินด้านเศรษฐศาสตร์ของผลกระทบสิ่งแวดล้อม
    การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์มีข้อจำกัดในการหามูลค่าของสิ่งแวดล้อมสำหรับการวิเคราะห์ผลประโยชน์-ต้นทุน

    - การกระจายรายได้:โครงการที่บริษัทหรือบุคคลที่ร่ำรวยเป็นฝ่ายได้รับประโยชน์แต่บุคคลหรือหมู่บ้านยากจนเป็นฝ่ายเสียประโยชน์อาจเป็นโครงการที่ไม่เหมาะสมแม้ว่าจะมีอัตราส่วนผลประโยชน์-ต้นทุนสูง

    - ความยุติธรรมระหว่างรุ่นอายุ:คนรุ่นหลังอาจจะมีทรัพยากรเหลืออยู่น้อยลงกว่ากรณีที่ไม่มีโครงการ และการใช้อัตราลดทอนเป็นมูลค่าปัจจุบันในอัตราที่สูงจะทำให้โครงการที่คิดผลประโยชน์มากในตอนต้นโครงการ ดูจะมีความคุ้มค่าสูง ถ้าใช้อัตราลดทอนต่ำก็จะเป็นการให้น้ำหนักมากกับผลกระทบทางลบในระยะยาว ดังนั้น การประเมินความคุ้มค่าของโครงการจึงขึ้นอยู่กับการเลือกใช้อัตราลดทอนด้วย

    - ความเสี่ยงและความไม่แน่นอน: ภัยธรรมชาติอย่างเช่นความแห้งแล้ง น้ำท่วม แผ่นดินไหว โรคระบาดพืชและสัตว์ ย่อมกระทบต่อผลการวิเคราะห์โครงการได้มาก แต่ในการคำนวณมักใช้ค่าที่คาดหมาย เนื่องจากไม่อาจรู้ค่าที่จะเป็นจริงได้

    - การคิดค่าเสียหายที่กลับคืนสภาพเดิมไม่ได้: ผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติแบบที่ไม่อาจฟื้นฟูใหม่ได้นี้ควรต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษเนื่องจากมีผลสำคัญมากในอนาคต ถ้าการเก็บรักษาทรัพยากรที่อาจสูญหายไปมีต้นทุนต่ำ ก็ควรพยายามคุ้มครองทรัพยากรนั้นไว้ ควรพิจารณาการใช้ทรัพยากรประเภทที่ไม่อาจกลับมีขึ้นได้อีกด้วยความรอบคอบ และควรเลือกโครงการประเภทที่ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรนี้อย่างยั่งยืน

    ตอบลบ
  8. ที่มา http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=386.0

    ตอบลบ
  9. นางสาวผกามาศ สุทธศรี
    51116603036

    เกร็ดความรู้เรื่องเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม....

    การประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของสิ่งแวดล้อม หมายถึง การประเมินคุณค่าที่มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ โดยคุณค่านั้นมีทั้งคุณค่าที่มีการใช้ประโยชน์ และคุณค่าที่ไม่มีการใช้ประโยชน์แต่ว่ามีประโยชน์ ทั้งหมดประเมินออกมาในหน่วยที่วัดได้คือหน่วยของเงิน

    " เศรษฐศาสตร์มองว่าทรัพยากรในโลกนี้มีอยู่อย่างจำกัดดังนั้นควรหาทางสมดุลในการจัดการทรัพยากรได้ "



    ที่มา
    javascript:_em.setCkHl(1); _em.setCkSv(-2); _em.setCkVt('74bc5042c7b338d86b86d9ec21554acf53d26979f5-882608834ce36348'); _em.setCkV('341160d980ea97de180946e42cf04ce363485391e6-433328864ce36348'); _em.hlCallback(2);

    ตอบลบ
  10. น.ส.อัมพวัน ศรีจันทร์ 51116603046
    “ธุรกิจสีเขียว” Green Business หมายถึง องค์กรที่ประกอบธุรกรรมโดยมีปณิธานในการทำงานที่มุ่งอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติทั้งหลายของโลกมนุษย์ อาทิ อากาศ ต้นน้ำ ลำธาร ป่าไม้ สัตว์ป่า พืชพันธุ์ธัญญาหาร แมลง ฯลฯ มีชีวิตอยู่ร่วมกันในระบบนิเวศวิทยาที่ดีที่สุดและอย่างยั่งยืนที่สุด
    ที่มา http://www.waterlab-dwr.com/wizContent.asp?wizConID=266&txtmMenu_ID=7

    ตอบลบ
  11. น.ส.จามจุรี จางจิตร์ 51116603008
    การฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจสีเขียวสามารถสร้างงาน การออมเงิน และปกป้องผู้ด้อยโอกาส ดังนั้น แนวทางคือ สร้างระบบการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลงทุนการคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน และการใช้พลังงานหมุนเวียน การทำระบบการเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน และการจัดการน้ำอย่างผสมผสาน สร้างระบบภาษีที่ส่งเสริมให้สร้างระบบเศรษฐกิจสีเขียว รวมทั้งกำหนดนโยบายการใช้ที่ดินและการวางผังเมืองที่ส่งเสริมให้เกิดพื้นที่สีเขียว ตลอดจนสร้างระบบเศรษฐกิจสีเขียว นโยบายของการปฏิรูปเศรษฐกิจสีเขียวจะดำเนินการได้นั้น ต้องมีการประสานงานในระดับระหว่างประเทศ โดยองค์กรสหประชาชาติควรสนับสนุนและสร้างกลไกหน้าที่เพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย

    ที่มา http://ssdp-watch.happysouth.org/?name=knowledge&file=readknowledge&id=11

    ตอบลบ
  12. นางสาวจันทิสา คำมี รหัส 51116603037
    การจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและอุตสากรรม
    กรีน มาร์เก็ตติ้ง สร้างแบรนด์ ช่วยลดโลกร้อน

    "กรีน มาร์เก็ตติ้ง" (Green Marketing) กลายเป็นกลยุทธ์ที่ผู้ประกอบการทุกค่าย ทุกธุรกิจให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่อง และเชื่อว่ากลยุทธ์กรีน มาร์เก็ตติ้งจะไม่ใช่แค่แฟชั่นเท่านั้น เพราะนอกจากจะช่วยปลุกจิตสำนึกของผู้บริโภคให้ใส่ใจต่อโลก สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติแล้วนั้น กรีน มาร์เก็ตติ้ง ยังเป็นอาวุธสำคัญในการสร้างแบรนด์ให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคอย่างกว้างขวาง
    ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2316 24 เม.ย. - 26 เม.ย. 2551

    ตอบลบ
  13. การประเมินมูลค่าทรัพยากรโดยวิธีประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อม (Hedonic Price Method: HPM) เป็นการประเมินมูลค่าทรัพยากรผ่านตลาดขึ้นกับองค์ประกอบของทรัพยากรโดยเน้นการบริการด้านคุณภาพสภาพแวดล้อม เช่น ความสวยงามของภูมิทัศน์ อากาศบริสุทธิ์ และอื่นๆ ซึ่งคุณภาพสิ่งแวดล้อมเหล่านี้จะมีผลต่อความเต็มใจที่จะจ่ายของผู้ใช้ทรัพยากร

    ที่มา http://marinepolicy.trf.or.th/benefit_nation_sub3_2.html

    ตอบลบ
  14. มูลค่าทรัพยากรทางทะเล เป็นการคิดมูลค่าโดยดัดแปลงจากเทคนิคการคิดมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์โดยรวมของทรัพยากรทั่วไป
    ที่มา http://marinepolicy.trf.or.th/benefit_nation_sub3_2.html

    ตอบลบ
  15. นายนัฐวุฒิ สุริยวรรณ์ 51116603034
    โรงแรมสีเขียว ปั่นไฟ แลกอาหาร
    เป็นที่รู้กันว่าธุรกิจห้างสรรพสินค้าและโรงแรมนั้นเป็นสองธุรกิจที่ใช้พลังงานไฟฟ้าและน้ำสิ้นเปลืองที่สุด ดังนั้น คราวน์ พลาซ่า โฮเต็ล ในกรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก จึงปิ๊งไอเดียเด็ดในการช่วยโลกประหยัดพลังงาน ด้วยการเสนอให้ผู้เข้าพักต้องผลิตกระแสไฟฟ้าให้ได้อย่างน้อย 10 วัตต์ต่อชั่วโมง โดยการปั่นจักรยานออกกำลังอยู่กับที่เพียง 15 นาที แลกกับคูปองอาหารมูลค่า 36 ดอลล่าร์ฯ โดยรถจักรยานออกกำลังกายดังกล่าวจะมีไอโฟนเชื่อมต่ออยู่ที่ด้ามจับเพื่อวัดระดับพลังงานที่ผลิตได้ โดยผู้ที่สามารถเข้าร่วมได้มีเฉพาะแขกที่เข้าพักเท่านั้นนอกจากนี้ โรงแรมสีเขียวแห่งนี้ยังมีการผลิตพลังงานหมุนเวียนโดยการคิดแผงพลังงานแสงอาทิตย์ที่ด้านหน้าของอาคารไว้อีกด้วย และหากไอเดียนี้ประสบความสำเร็จ ทางโรงแรมก็จะขยายผลต่อไปนี้ยังคราวน์ พลาซ่า โฮเตล ในสหราชอาณาจักร
    ที่มา : a day bulletin

    ตอบลบ
  16. นายศรันญู ภาษี รหัส 51116603024
    หลักสูตร การจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและอุตสาหกรรม
    การประเมินมูลค่าทรัพยากรทางทะเลโดยการเทียบเคียงกับการลงทุน (Cost-based technique) เป็นวิธีการประเมินมูลค่าทรัพยากรจากการใช้หลักการสละผลประโยชน์ที่ควรจะได้ เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบเพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ มี 3 ลักษณะ คือ การประเมินมูลค่าทรัพยากรจากการเสียโอกาส การประเมินมูลค่าทรัพยากรจากการลงทุนในเชิงป้องกัน (Preventive cost) และการลงทุนทดแทน (Replacement cost)

    ที่มา http://marinepolicy.trf.or.th/benefit_nation_sub3_1.html

    ตอบลบ
  17. นางสาวจิลิตา พรหมคุณ รหัส 51116603021
    การจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและอุตสากรรม

    เศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม
    สภาพสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมยังคงเป็นปัญหาที่รุนแรงในประเทศไทย ทั้งๆ ที่มีความพัฒนาการทางบวกในเชิงนโยบายในช่วงเวลาที่ผ่านมา กล่าวคือคนไทยมีความตระหนักถึงคุณค่าสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น และได้มีมาตรการรณรงค์และประชาสัมพันธ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มแข็ง มาตรการของหน่วยราชการฯ ด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ผ่านมา สรุปเป็นสามแนวทางดังนี้
    1) การกำหนดมาตรฐานสิ่งแวดล้อม (Environmental Standards) โดยออกกฎหมายหรือประกาศกฎกระทรวงและระเบียบเพื่อใช้กับโรงงานร้านค้าสถานประกอบการแล ะบ้านเรือน ในบางพื้นที่เฉพาะประกาศให้เป็นเขตควบคุมมลพิษ
    2) มาตรการป้องกันโดยกำหนดให้โครงการพัฒนา โรงงาน และกิจการบางชนิด ต้องจัดทำประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment, EIA) เสียก่อนได้รับอนุญาตดำเนินการ
    3) มาตรการรณรงค์ให้ประชาชนและภาคธุรกิจ ตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ ภัยอันตรายของมลพิษ รณรงค์ให้ประชาชนลดความสูญเสียและสิ้นเปลืองการใช้พลังงาน ส่งเสริมให้นำของเหลือใช้กลับมาใช้ใหม่หรือการแปรรูป

    ที่ผ่านมาประเทศต่าง ๆ มีการนำวิธีทางเศรษฐศาสตร์มาเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศอุตสาหกรรม เป็นต้นว่า การเก็บค่าธรรมเนียมในการปล่อยสารพิษและการปล่อย น้ำเสียจากบ้านเรือนที่อยู่อาศัย การขึ้นภาษีน้ำมันเชื้อเพลิง การจัดเก็บภาษีเครื่องใช้ในบ้านประเภทของใช้ แล้วทิ้ง โดยการบวกภาษีในราคาขายปลีก การเก็บภาษีปุ๋ยและภาษียาฆ่าแมลง การเก็บภาษีเครื่องใช้ที่ทำด้วย พลาสติก ภาษีรถยนต์ที่มีขนาดเครื่องยนต์ขนาดใหญ่และใช้น้ำมันเชื้อเพลิงมาก ภาษีถ่านหิน และอื่น ๆ
    สำหรับประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะประเทศในเอเซีย ระบบบังคับและควบคุมมีความไม่ เหมาะสมด้วยเหตุผลหลายประการ
    ประการแรก ลักษณะพื้นฐานทางวัฒนธรรม ที่มีความเห็นอกเห็นใจกันมากกว่าที่จะต้องปฏิบัติตาม ระเบียบและข้อบังคับ
    ประการที่สอง การเฝ้าติดตามดูแลโรงงานจำนวนมากและตั้งกระจายอยู่ทั่วประเทศทำได้ยากลำบาก สิ้นเปลืองทั้งงบประมาณและเจ้าหน้าที่
    ประการที่สาม กฎเกณฑ์ต่าง ๆ มักมีการลอกเลียนแบบจากประเทศที่พัฒนาแล้ว ขณะที่กำลังคนและ งบประมาณสนับสนุนของประเทศกำลังพัฒนามีน้อยกว่ามาก
    ประการที่สี่ บทลงโทษและกฎหมายไม่รุนแรงและไม่ได้มีการบังคับ ส่วนหนึ่งมากจากพื้นฐานทาง วัฒนธรรม
    ประการสุดท้าย ระดับการศึกษารวมทั้งการตื่นตัวต่อความรับผิดชอบ และตระหนักถึงปัญหาด้าน สิ่งแวดล้อมของประชาชนในประเทศยังมีน้อย ทำให้การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เป็นไปได้ยาก

    ที่มา (http://www.nidaems5.com/modules/1212)

    ตอบลบ
  18. นาย จักรพันธุ์ ดอนคง รหัส 51116603016
    การจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและอุตสาหกรรม

    ภาษีมลพิษ (Pollution Tax) หมายถึง การเก็บภาษีตามปริมาณของของเสีย (มลพิษ) ที่โรงงานหรือบ้านเรือนปล่อยออกมาในบรรยากาศ (แหล่งน้ำ ดิน และอากาศ) ทั้งนี้อัตราภาษีควรจะสะท้อนค่าความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม วงการเศรษฐศาสตร์มีความเข้าใจหลักการภาษีมลพิษมานานทีเดียว แต่การนำมาประยุกต์จริงนั้นเพิ่งจะเริ่มไม่นาน เพราะว่า 1) ก่อนปี ค.ศ.1970 ความตระหนักเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมน้อย ไม่ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ และ 2) ต้องยอมรับว่ามีความยุ่งยากในการกำหนดอัตราภาษีสิ่งแวดล้อม อัตราใดจึงเหมาะสม? ต้องการผลงานวิจัย ไม่ใช่กำหนดโดยพลการ หลักการคือ อัตรานั้นๆ ควรจะสอดคล้องหรือมีค่าใกล้เคียงกับ Marginal Damage Cost แต่ในทางปฏิบัติ การประเมินค่าความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมนั้นเป็นเรื่องยุ่งยาก ซับซ้อน ไม่ตายตัว (ของเสียชนิดเดียวกันที่ปล่อยในเขตเมืองกับชนบท ผลเสียหายไม่เท่ากัน)

    ตอบลบ
  19. นายวิเศษศักดิ์ ชาติเชื้อ รหัส 51116603051

    การจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและอุตสาหกรรม

    เศรษฐศาสตร์ของผลกระทบสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องสำคัญในการทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพราะเป็นการวิเคราะห์ว่าผลประโยชน์สุทธิจากโครงการจะสูงกว่าผลประโยชน์สุทธิของทางเลือกอื่นๆ หรือไม่ รวมทั้งการเลือกที่จะไม่ทำโครงการด้วย การประเมินทางเศรษฐศาสตร์ของทางเลือกต่าง ๆ ในระยะแรกของการวางแผนโครงการช่วยให้ข้อมูลสำคัญที่จะทำให้ตัดสินใจได้ดีขึ้น ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการแลกเปลี่ยนนั้นไม่อาจจะตีค่าเป็นตัวเงินได้หมดทุกอย่าง แต่ถ้าผู้รับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมและผู้มีอำนาจตัดสินใจของประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงได้เริ่มคิดถึงต้นทุนที่แฝงอยู่ในกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม พวกเขาก็จะเลือกผลทางสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ดีขึ้น ในตอนต่อไปนี้จะได้นำเสนอวิธีการประเมินทางเศรษฐศาสตร์สำหรับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมไว้โดยสังเขป

    ค้นหาจาก http://www.google.co.th/search?hl=th&q=%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%84&start=10&sa=N

    ตอบลบ
  20. นางสาว อันธิกา ไทยเอียด 51116603033
    การจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและอุตสาหกรรม

    เกร็ดความรู้เรื่อง บัญชีสีเขียว
    การทำบัญชีสีเขียว (green accounting) ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะรวมเอาต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมไว้ในบัญชีรายได้ประชาชาติโดยนำเอาต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมไปหักออกจากผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (gross national product) วิธีนี้ช่วยลดการใช้ทรัพยากรมากเกินควรด้วยการแสดงต้นทุนของการใช้ทรัพยากรที่ถูกต้องกว่าเดิม

    ที่มา http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=386.0

    ตอบลบ
  21. นาย กตัญญู สังขพุทธิ 51116603027
    การจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและอุตสาหกรรม


    ศ.ดร.ฟรานซ์-ธีโอ กอตวาลล์ (Prof.Dr.Franz-Theo Gottwald)

    ผู้อำนวยการมูลนิธิชไวเฟิร์ท เพื่อการพัฒนาเกษตรกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประเทศเยอรมนี

    ให้ทัศนะว่า แนวเศรษฐศาสตร์ทางเลือกสำหรับผู้คนต่างถิ่นต่างวัฒนธรรม ต้องมีรูปแบบและกรรมวิธีที่แตกต่างกัน เช่น เศรษฐกิจสมานฉันท์ (solidarity economy) เป็นสิ่งที่เหมาะกับอเมริกาใต้ ขณะที่การพูดถึงประสิทธิภาพของวงจรธรรมชาติและเรื่องสิ่งแวดล้อมอาจเป็นเรื่องที่สามารถเริ่มต้นได้ที่ประเทศจีน หรือการกล่าวถึงเรื่องการเมืองแบบ Green Politics จะเป็นที่ชื่นชอบของประเทศยุโรป ส่วนประเทศไทยเองก็มีจุดยืนของตน หมายความว่าแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงดูเหมือนจะเหมาะที่สุดและเข้ากันได้ดีกับพันธภาพของความเป็นเมืองพุทธและการพัฒนาที่มีคุณภาพ


    ที่มา
    http://www.rsunews.net/Green/SufficiencyEconomyNetwork/Gpage.htm

    ตอบลบ
  22. การใช้ประโยชน์ทรัพยากร (H) น้อยกว่าการผลิตทรัพยากร (Y) ความสัมพันธ์นี้ทำให้แน่ใจได้ว่า ทรัพยากรชนิดนี้จะคืนกลับมาใหม่ได้ เพราะเราใช้มันในอัตราที่ช้ากว่าธรรมชาติสร้างขึ้นใหม่ W < A โดยให้ W คือการทิ้งของเสียซึ่งเกิดขึ้นน้อยกว่าขีดความสามารถของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติในการรองรับของเสีย แต่ต้องไม่ลืมว่าทั้งการผลิตทรัพยากรขึ้นใหม่ (Y) และความสามารถที่จะรองรับของเสีย (A) จะไม่หยุดนิ่งเท่าเดิม เราจึงอาจหาวิธีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อเพิ่มการผลิตที่ยั่งยืนและการรองรับของเสียได้

    ค้นจาก http://www.google.co.th

    ตอบลบ
  23. นางสาว ประภาภรณ์ สันเพ็ง รหัส51116603031
    การจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและอุตสาหกรรม

    การสงวนทุนธรรมชาติ

    ความสำเร็จทางเศรษฐกิจจะมีค่าทางสังคมน้อยมากถ้าความสำเร็จนั้นเกิดมาจากการใช้ทรัพยากรให้หมดไป เทียบได้กับรายได้ของครัวเรือนที่ได้มาจากการใช้เงินออมของครัวเรือนเพียงอย่างเดียว ย่อมไม่อาจถือเป็นความสำเร็จทางเศรษฐกิจได้ ถึงจุดหนึ่งเมื่อเงินออม (หรือทุน) หมดลงก็จะไม่มีรายได้อีกเลยทรัพยากรธรรมชาติก็เช่นเดียวกัน ถ้าเราตัดไม้จากป่าอยู่เรื่อยๆ จนมันโตไม่ทัน ในที่สุดรายได้จากไม้ก็จะหมดลง แต่ถ้าเราตัดไม้โดยระวังให้มันเติบโตได้ทัน เราก็จะมีไม้สำหรับใช้และเป็นแหล่งรายได้ต่อไปอีกนาน สิ่งสำคัญก็คือจะต้องคุ้มครองฐานทุนธรรมชาติ คุ้มครองขีดความสามารถในการสร้างใหม่ของระบบนิเวศ และจัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อให้คนแต่ละรุ่นได้อาศัยผลตอบแทนจากทรัพยากรธรรมชาติทุกรุ่น

    ตอบลบ
  24. http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=386.0

    ตอบลบ
  25. นางสาวศรินทิพย์ นันภิวงค์ รหัส 51116603054
    การจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและอุตสาหกรรม

    "ฉลากสิ่งแวดล้อม" ช่วยอนุรักษ์โลกสีเขียว

    ผู้บริโภคหลายๆ ท่าน อาจเคยผ่านตามองเห็น "ฉลากเพื่อสิ่งแวดล้อม" เวลาไปเดินจับจ่ายซื้อสินค้าตามร้านค้าทั่วไป ล่าสุดชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อมจัดงานสัมมนาเผยแพร่ความรู้ในประเด็นดังกล่าวระบุว่า ปัจจุบัน "ฉลากเพื่อสิ่งแวดล้อม" แบ่งเป็น 3 ประเภท

    1. ฉลากเขียว มีสีเขียวสมชื่อ ใช้บ่งบอกว่าผลิตภัณฑ์ยี่ห้อนั้นมี
    คุณภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีคณะอนุกรรมการจากกระทรวงอุตสาหกรรมคอยตรวจรับรองคุณภาพ ตั้งแต่กระบวนการออกแบบ ผลิต ใช้งาน กระทั่งจบสิ้นที่การทิ้งทำลายว่ามีอัตราปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือคาร์บอนไดออกไซด์มากเกินความจำเป็นหรือไม่

    2. ฉลากลดคาร์บอน หรือ ฉลากแสดงการลดระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ลง เมื่อเทียบกับปี 2545 ที่โรงงานเคยปล่อย โดยหากผลประเมินพบว่าสินค้านั้นมีกระบวนการผลิตที่ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก น้อยลงร้อยละ 10 จะถือว่าผ่านเกณฑ์

    3. ฉลากน้องใหม่ "คาร์บอนฟุตพรินต์" ซึ่งเป็นฉลากแสดงตัวเลขของปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ที่โรงงานผลิต

    ที่มา http://www.green.in.th/blog/politics/2210

    ตอบลบ
  26. น.ส.กันยารัตน์ มานะจิตต์ 51116603012 การจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและอุตสาหกรรม

    อุปสงค์และอุปทาน
    อุปสงค์และอุปทานเป็นโมเดลทางเศรษฐศาสตร์ที่อธิบายถึงความสัมพันธ์ของราคาและปริมาณในท้องตลาด กล่าวโดยทั่วไปแล้ว ข้อมูลทางทฤษฎีจะระบุว่าเมื่อใดก็ตามที่สินค้าถูกขายในตลาด ณ ระดับราคาที่ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้ามากกว่าจำนวนสินค้าที่สามารถผลิตได้แล้ว ก็จะเกิดการขาดแคลนสินค้าขึ้น ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวก็จะส่งผลให้มีการเพิ่มขึ้นของระดับราคาของสินค้า โดยที่ผู้บริโภคกลุ่มที่มีความพร้อมในการจ่ายชำระ ณ ระดับราคาที่เพิ่มขึ้นนั้นก็จะส่งผลให้ราคาตลาดสูงขึ้น ในทางตรงข้ามระดับราคาจะต่ำลงเมื่อปริมาณสินค้าที่มีให้นั้นมีมากกว่าความต้องการที่เกิดขึ้น กระบวนการดังกล่าวจะดำเนินไปจนกระทั่งตลาดเข้าสู่จุดดุลยภาพ ซึ่งเป็นจุดที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดเกิดขึ้นอีก เมื่อใดก็ตามที่ผู้ผลิตทำการผลิตสินค้าที่จุดดุลยภาพนี้ ซึ่งเป็นจุดเดียวกับที่ผู้ซื้อตกลงซื้อที่ระดับราคาดังกล่าวแล้ว ณ จุดนี้กล่าวได้ว่าตลาดเข้าสู่จุดสมดุลแล้ว

    ตอบลบ
  27. นางสาวนริศร ตั้นสวัสดิ์
    รหัส 51116603017
    เศรษฐศาสตร์มหภาค เป็นการศึกษาหน่วยกิจส่วนรวม เช่น การผลิต รายได้ประชาชาติ การบริโภคการออม การลงทุน การจ้างงาน ภาษีอากร การคลังสาธารณะ การค้าระหว่างประเทศและการพัฒนาเศรษฐกิจ
    การศึกษาเศรษฐศาสตร์ระดับมหภาค เป็นการศึกษาที่ได้เน้นด้านการเพิ่มขึ้นของผลผลิตประชาชาติ การเพิ่มรายได้ให้แก่แรงงานและการมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
    จอห์น เมนารด เคนส์ “ทฤษฏีเศรษฐศาสตร์มิได้ให้ข้อสรุปที่จะนำมาใช้ได้กับนโยบายได้ทันทีโดยทฤษฏี เศรษฐศาสตร์เป็นวิธีการมากกว่าเป็นกฎเกณฑ์ และเป็นเทคนิคในการคิดซึ่งจะช่วยให้ได้ข้อสรุปที่ถูกต้อง”
    ลีออลเนล รอบบินส์ เป็นศาสตร์ที่ศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์ในการเลือกหาหนทางที่จะใช้ปัจจัยการผลิตที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อบำบัดความต้องการของมนุษย์ซึ่งมีอยู่มากมายนับไม่ถ้วน โดยทั่วไปแล้วเป็นการศึกษาถึงวิธีการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อผลิตสินค้าและบริการ มาสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีอยู่ไม่จำกัด เพื่อผลิตสินค้าและบริการ มาสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีอยู่ไม่จำกัด
    เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics) เป็นการศึกษาถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนรวม เช่น ผลิตผลรวมของประเทศ การจ้างงาน การเงินและการธนาคาร การพัฒนาประเทศ การค้าระหว่างประเทศ อัตราดอกเบี้ย ซึ่งทั้งหมดนั้นเป็นปัญหาที่กว้างขวางกว่าเศรษฐศาสตร์จุลภาค เพราะว่าไม่ได้กระทบเพียงหน่วยธุรกิจเท่านั้น แต่จะกระทบถึงบุคคล หน่วยการผลิต และ อุตสาหกรรมทั้งหมด และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เศรษฐศาสตร์มหภาคนั้นจะมุ่งเน้นที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติเบี้องต้น(GNP) และการว่าจ้างงาน จะหาว่าอะไรเป็นสาเหตุให้ผลิตผลรวมและระดับการว่าจ้างงานมีการเคลื่อนไหวขึ้นลง เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาต่างๆได้ตรงจุด เช่น ภาวะเงินเฟ้อเงินฝืด และ ปัญหาการว่างงาน เป็นต้น
    ความสำคัญของเศรษฐศาสตร์มหภาค
    เนื่องจากเศรษฐศาสตร์มหภาคเป็นความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ ของระบบเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งมีผลต่อความเป็นอยู่ของประชาชนทุกคน ดังนั้นเศรษฐศาสตร์มหภาคจึงมีความสำคัญดังนี้
    1. ประชาชนทั่วไป ในฐานะเป็นพลเมืองส่วนใหญ่ของประเทศ ถ้ามีความเข้าใจในภาวะเศรษฐกิจ ก็จะสามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจได้อย่างทันท่วงที ช่วยให้ประชาชนเข้าใจการบริหารประเทศของรัฐบาลและสามารถที่จะให้ความร่วมมือกับรัฐบาลได้ดียิ่งขึ้น
    2. ผู้ประกอบการ ไม่ว่าผู้ประกอบการอาชีพใดก็ต้องอาศัยความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ ในการประกอบการตัดสินใจบริหารงานต่างๆ ซึ่งจะสามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจได้ และเป็นการลดความเสียงจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจได้อีกด้วย
    3. เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ สำหรับผู้ที่มีความรู้ในทางเศรษฐศาสตร์ในระดับสูงใน "ทฤษฏีเศรษฐศาสตร์มหภาค" เกี่ยวกับรายได้ประชาชาติ การเงินการคลัง และการธนาคาร วัฎจักรเศรษฐกิจ การค้าระหว่างประเทศ และการพัฒนาเศรษฐกิจ จะเป็นเครื่องมือขั้นต้นประกอบการวิเคราะห์เศรษฐกิจในขั้นต่อไป

    ตอบลบ
  28. นางสาว สาวิตรี ม่วงศรี 51116603002
    การจัดการสี่งแวดล้อมเมืองและอุตสาหกรรม

    การศึกษาเศรษฐศาสตร์ มี 2 วิธี คือ วิธีอนุมาน เป็นการศึกษาจากสาเหตุไปหาผล และวิธีอุปมาน เป็นการศึกษาจากผลเพื่อหาสาเหตุ ทุกสังคมในโลกล้วนมีปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เนื่องจากมีปัจจัยการผลิตจำกัด ทำให้ต้องมีการตัดสินใจว่า จะใช้ปัจจัยการผลิตนั้นไปเพื่อเลือกผลิตอะไร ใช้กรรมวิธีผลิตอย่างไร และจะแบ่งปันสินค้าและบริการที่ผลิตได้ไปให้ใครบ้าง

    ตอบลบ
  29. น.ส. ธนาภรณ์ ศรีบุระ รหัส 51116603030

    ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิคและการนำไปใช้

    ระบบเศรษฐกิจตามความคิดของสำนักคลาสสิคนั้นอยู่บนพื้นฐานของอุปสงค์และอุปทาน ราคาของสินค้าหรือบริการชนิดหนึ่งถูกกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทานของสินค้านั้น ถ้าอุปสงค์ของสินค้านั้นเพิ่มขึ้นราคาของมันก็จะสูงขึ้น ถ้าอุปทานของสินค้านั้นและปัจจัยอื่น ๆ ยังอยู่เท่าเดิม และในทางกลับกัน ถ้าอุปทานเพิ่มขึ้นราคาก็จะลดลง ถ้าอุปสงค์ของสินค้านั้นและปัจจัยอื่น ๆ ยังคงอยู่เท่าเดิม

    ราคาสินค้าชนิดหนึ่งจะเปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนแปลงของตลาด ถ้าอุปสงค์เท่ากับอุปทาน ราคาสินค้าก็จะเป็นราคาที่ดุลยภาพ ถ้าอุปทานมีมากเกินอุปสงค์ราคาสินค้านั้นก็จะลดลง ซึ่งจะเป็นผลให้อุปทานปรับตัวลดลงต่อไป แต่ถ้าอุปสงค์มีมากกว่าอุปทาน ราคาสินค้านั้นก็จะสูงขึ้น และจูงใจให้ผู้ผลิตทำการผลิตสินค้านั้นมากขึ้นหรือทำให้อุปทานเพิ่มขึ้นนั่นเอง

    แนวคิดของสำนักคลาสสิคมีพื้นฐานจากข้อสมมติว่าตลาดจะทำงานจนทำให้อุปทานและอุปสงค์อยู่ในระดับที่เหมาะสม ทรัพยากรใดที่มีน้อยและหาได้ยากก็จะมีราคาสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้มีความต้องการซื้อน้อยลง ราคาที่สูงนี้จะจูงใจให้ผู้ผลิตหาทางผลิตสินค้าอื่นมาให้ใช้แทน


    http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=386.0

    ตอบลบ
  30. นางสาว นริศร ตั้นสวัสดิ์ รหัส 51116603017 (อันนี้นะค่ะ)
    หลักสูตรการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและอุตสาหกรรม

    เศรษฐศาสตร์สีเขียว เศรษฐศาสตร์ที่ใช้แนวคิดในการวิเคราะห์ว่าเศรษฐกิจเป็นส่วนหนึ่งและต้องพึ่งพาโลกธรรมชาติ มนุษย์ทั้งในฐานะผู้ผลิตและผู้มีส่วนได้เสีย ต้องคำนึงว่าในการผลิตและการกระจายและการบริโภคสินค้าและบริการนั้นจะมีผลกระทบต่อธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ โลกและบรรยากาศรอบโลก ที่เป็นต้นทุนทางสังคมหรือระบบนิเวศทั้งหมด (Ecosystem) และมองว่าเราไม่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อขยายการผลิตให้เศรษฐกิจเติบโตไปได้อย่างไม่มีขีดจำกัดเพราะจะมีผลกระทบทางลบไม่ทางใดก็ทางหนึ่งอยู่เสมอ เศรษฐศาสตร์สีเขียวเน้นการผลิต การกระจาย และการบริโภคที่ลดการทำลายสภาพแวดล้อม การใช้ทรัพยากรที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ ประหยัดการใช้พลังงาน และหรือใช้พลังงานทางเลือกแทน เอาของใช้แล้วมาหมุนเวียนใช้ใหม่ ฯลฯ

    ที่มา http://witayakornclub.wordpress.com/2009/02/16/genetic-engineering-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0-20-%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95/

    ตอบลบ
  31. นางสาว จีรภา ไชยขาว รหัส 51116603047

    " สินค้าอิเล็กทรอนิกส์สีเขียว "

    นับตั้งแต่การจัดอันดับครั้งแรกในปี 2549 ผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่ได้พัฒนาก้าวหน้าไปมาก โดยเฉพาะด้านการลดใช้สารเคมีอันตรายในผลิตภัณฑ์ และการรับผิดชอบต่อขยะอิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ตาม การพัฒนายังไม่ครอบคลุมถึงประเด็นด้านพลังงาน ซึ่งแม้ผู้ผลิตเหล่านี้ล้วนมีศักยภาพที่จะช่วยแก้วิกฤตปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ รวมถึงการผลักดันรัฐบาลเพื่อเป็นผู้นำแก้ปัญหา มีผู้ผลิตเพียงไม่กี่รายเท่านั้นที่ลงมือกระทำดังกล่าวอย่างแท้จริง โดยโมโตโรล่า ไมโครซอร์ป เดล แอปเปิ้ล เลอโนโว ซัมซุง นินเทนโด และ แอลจี เป็นกลุ่มผู้ผลิตที่ยังไม่มีแผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิต รวมถึงขาดการตั้งเป้าหมายในการปฏิบัติและมีส่วนช่วยแก้ปัญหาที่ชัดเจน จากการจัดอันดับสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สีเขียวจำนวน 18 แบรนด์พบว่าผู้ผลิต 9 แบรนด์ได้รับคะแนนเกินกว่าครึ่ง (5/10 คะแนน) ผู้ผลิตส่วนใหญ่ได้คะแนนจากหลักเกณฑ์ประสิทธิภาพการใช้พลังงานของผลิตภัณฑ์ แต่มีเพียง ฟูจิซึ-ซีเมนส์ ฟิลิปส์ และชาร์ปเท่านั้นที่ได้รับคะแนนจากการสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณที่มากเพียงพอ และมีเพียงฟิลิปส์และเอชพี ที่ได้คะแนนสูงสุดจากการให้คำมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตทั้งระบบ และพบว่าผู้ผลิตส่วนใหญ่ไม่ใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นพลังงานในการผลิต แม้ว่าผู้ผลิตบางรายเป็นผู้ผลิตเซลล์แสงอาทิตย์เองก็ตาม โดยมีเพียงโนเกียซึ่งเป็นอันดับหนึ่งอย่างต่อเนื่อง สามารถจัดหาพลังงานหมุนเวียนเป็นพลังงานในการผลิตได้มากกว่าร้อยละ 25 และมีแผนที่จะจัดหาเพิ่มเป็นร้อยละ 50 ให้ได้ภายในปี 2553

    ตอบลบ
  32. นางสาวจีรภาไชยขาว อาจารย์ขาที่มาค่ะ

    https://p3-admin.greenpeace.org/seasia/th/press/reports/greener-e-guide-v10/

    ตอบลบ
  33. นางสาวขวัญธิดา ดงหลง รหัส 51116603050 ตอนเรียนA1
    หลักสูตรการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและอุสาหกรรมค่ะ...

    วิธีสร้างจริยธรรมทางเศรษฐศาสตร์สีเขียว มีหลักการที่สําคัญ คือ
    1. ในการสนองความต้องการของมนุษย์เพื่อการดํารงอยู่ควรที่จะต้องใช้ ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างระมัดระวังที่สุด ไม่ให้เกิดความเสียหายอย่างมากหรือรุนแรง
    2. เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติ ก็ต้องเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่ยั่งยืน สอดคล้องกับวิถีทางธรรมชาติ
    3.ทรัพยากรมีปริมาณจํากัด จึงต้องใช้แบบประหยัดไม่ล้างผลาญหรือฟุ่มเฟือย
    4.ต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติของโลกอย่างเหมาะสมพอดี
    5. เป็นสิ่งที่ผิด ถ้าเรามองว่า คนและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ คือปัจจัยการผลิต ซึ่งวัดค่าด้วยเงินตรา
    6.ทุกสิ่งที่เรามีในระบบเศรษฐกิจมีตนกําเนิดจากโลกธรรมชาติ และแสงอาทิตย์ ถ้าโลกธรรมชาติล่มสลายเศรษฐกิจก็พังไปด้วย
    7. อย่ากระทําสิ่งใดที่เป็นการทําลายดุลยภาพในโลกธรรมชาติ อันเป็นการ บั่นทอน"ทุนธรรมชาติ” ซึ่งเป็นพื้นฐานสนับสนุนระบบเศรษฐกิจ การขาดดุลยภาพทางธรรมชาติ คือการขาดสมดุลที่ยิ่งใหญ่และร้ายแรงที่สุด
    Miller กล่าวว่า การที่เราจะมีโลกทรรศน์แนวโลกธรรมชาติยั่งยืนได้นั้น เราต้องผ่านการยกระดับ "ความตื่นตัวทางสิ่งแวดล้อม" (Environmental awareness) 4 ระดับด้วยกัน คือ
    ระดับ ที่1 เราเริ่มมองเห็นปรากฏการณ์และรับรู้ปัญหา เราเริ่มรู้สึกว่า กําลังมีปัญหาบางอย่างเกิดขึ้น เช่น ปัญหามลพิษ เราคิดแต่เพียงว่า เมื่อมีปัญหามลพิษ เราต้องเข้าไปแก้ไข โดยการควบคุมหรือแก้ไข แต่ยังมองไม่เห็นระบบ
    ระดับที่ 2 เริ่มมองเห็นความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ ที่เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ เช่นเริ่มรู้สึกว่าปัญหามลพิษ ความเสื่อมโทรมทางสิ่งแวดล้อม และการหมดสิ้นของทรัพยากรเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับปัญหาประชากร การพัฒนาอุตสาหกรรม ลัทธิการบริโภคนิยม และความยากจนในสังคม การตื่นตัวมากขึ้นในระดับนี้เรียกร้องให้เราแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบเช่นกัน แต่เรายังมองไม่เห็นว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมเข้าไปเกี่ยวข้องกับระบบเศรษฐกิจการเมืองได้อย่างไร
    ระดับที่ 3 การตื่นตัวในระดับนี้ จะทําให้เรามองเห็นความเชื่อมโยงทางด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบมากขึ้น และมีการแสวงหาทางเลือกใหม่ ๆ ในการจัดระบบทางเศรษฐกิจสังคม เช่นมองหาแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจแบบใหม่ ที่เรียกกันว่า "การพัฒนาแบบยั่งยืน" ในขณะเดียวกันก็พัฒนาวิธีการจัดการทางสิ่งแวดล้อมที่มีลักษณะสลับซับซ้อนและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
    ระดับที่ 4 เป็นการตื่นตัวในระดับสูงสุด มนุษย์จะต้องนึกถึงหาก "ความอยู่รอดของธรรมชาติ" ไม่ใช่ "ความอยู่รอดของมนุษย์" จริยธรรมทางสิ่งแวดล้อมจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อเรามีความสัมพันธ์กับธรรมชาติ โดยการเห็น การรู้สึกสัมผัส การเข้าใจ ความรักและความห่วงใย ที่สําคัญคือ เกิดความศรัธทาโลกทรรศน์ใหม่ ซึ่งเป็นวิถีการคิดและความรู้สึกแบบใหม่ อันเกิดจากการเข้าถึงธรรมชาติ ซึ่งหมายความว่า วิถีชีวิตแบบใหม่จะต้องมีลักษณะเรียบง่าย ปฎิเสธบริโภคนิยม ไม่ลุ่มหลงในวัตถุ และใช้ชีวิตอย่างมีความหมาย

    [โลกทรรศน์แบบอุตสาหกรรมนิยม] [จริยธรรมสิ่งแวดล้อมแบบใหม่]

    ที่มาhttp://www.rmuti.ac.th/user/thanyaphak/Web%20EMR/Web%20IS%20Environment%20gr.1/contect/1-1-2.html

    ตอบลบ
  34. นางสาว พจนีย์ สีม่วง รหัส 51116603001

    "ธนาคารต้นไม้ "

    “ธนาคารต้นไม้” หรือ Tree Bank มีที่มาที่ไปจากเหตุการณ์พายุเกย์ถล่มภาคใต้ในปี 2532 และสร้างความเสียหายแก่ชาวบ้านโดยประเมินค่าไม่ได้ ทำเอาเกษตรกรหลายคนสิ้นเนื้อประดาตัวและติดหนี้ ธ.ก.ส.เป็นทิวแถว ลุงไสวจึงเข้าร่วมกับภาคีภาครัฐและภาคประชาชนขับเคลื่อนแนวคิดดังกล่าว โดยให้ชาวบ้านปลูกต้นไม้ใช้หนี้ตามยุทธศาสตร์แก้ปัญหาความยากจนของสำนักนายกรัฐมนตรี

    หลักการง่าย ๆ เพียงแค่ปลูกต้นไม้มีค่าประเภทจำปาทอง ไม้สักทอง ฯลฯ ที่อายุเพียง 10-20 ปี มีค่าต้นละ 1 แสนบาท แล้วนำมาฝากกับธนาคารต้นไม้ เมื่อปลูกจนมีอายุตัดขายได้ ก็ให้มาขออนุญาตกับธนาคาร เพื่อแปรไม้ให้เป็นทรัพย์และนำมาใช้หนี้กับ ธ.ก.ส. ซึ่งเป็นการเพิ่มผืนป่าให้กับประเทศ ให้กับโลก โยรัฐไม่ต้องลงทุน และเกษตรกรไม่ต้องเสียงเงินมาก เนื่องจากต้นไม้สามารถเติบโตโดยธรรมชาติได้ และที่ดีที่สุดคือไม่ต้องขายที่ดินทำกินมาปลดหนี้

    ในอนาคต “ลุงไสว” ตั้งใจว่าจะขยายธนาคารดังกล่าวให้ครบ 84 สาขาทั่วประเทศ จากเดิมที่มีอยู่ 22 สาขาในภาคใต้ โดยมีการปลูกต้นไม้ไปแล้วกว่า 1,400,000 ต้น ในเนื้อที่กว่าหมื่นแปลง โดยสมาชิกกว่าหมื่นครัวเรือนเป็นผู้ปลูก แต่ในปลายปี 2550 จะปลูกต้นไม้ให้ได้ 1,999,999 ต้น โดยบัญชีธนาคารต้นไม้จะถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในปีมหามงคลที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมพรรษาครอบ 80 พรรษาและจะทำการเชื่อมโยงกับ ธ.ก.ส.ในการเอาบัญชีธนาคารต้นไม้ไปค้ำประกันเพื่อคงอัตราดอกเบี้ยไม่ให้เพิ่มสูงขึ้น จนกว่าจะตัดต้นไม้มาใช้หนี้

    ที่มา :http://www.thaienv.com/th

    ตอบลบ
  35. นางสาว ธิดารัตน์ กลัดตลาด รหัส 51116603023
    การจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและอุตสาหกรรม

    เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics) เป็นเศรษฐศาสตร์สาขาหนึ่งซึ่งศึกษาพฤติกรรมและการตัดสินใจของบุคคล ครัวเรือน และบริษัท ในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด โดยเฉพาะในตลาดซึ่งมีการซื้อขายสินค้าและบริการ เศรษฐศาสตร์จุลภาคศึกษาว่าพฤติกรรมและการตัดสินใจเหล่านี้มีผลกระทบอย่างไรต่ออุปสงค์และอุปทานของสินค้าและบริการ ซึ่งเป็นตัวกำหนดราคา และในทางกลับกัน ราคากำหนดอุปสงค์และอุปทานของสินค้าและบริการอย่างไร

    จุดประสงค์หนึ่งของเศรษฐศาสตร์จุลภาคคือการวิเคราะห์กลไกตลาดซึ่งเป็นตัวกำหนดราคาเปรียบเทียบระหว่างสินค้าและบริการ และการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดเพื่อใช้ในทางเลือกต่าง ๆ เศรษฐศาสตร์จุลภาคศึกษาเกี่ยวกับความล้มเหลวของตลาด ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่กลไกตลาดไม่สามารถทำให้เกิดผลที่มีประสิทธิภาพได้ และยังอธิบายเกี่ยวกับข้อแม้ทางทฤษฎีที่จำเป็นต่อการเกิดการแข่งขันสมบูรณ์ สาขาที่สำคัญในเศรษฐศาสตร์จุลภาค เช่นดุลยภาพทั่วไป ตลาดภายใต้ความไม่สมมาตรของข้อมูล การตัดสินใจภายใต้ความไม่แน่นอน และการประยุกต์ใช้ทฤษฎีเกมในทางเศรษฐศาสตร์

    ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/

    ตอบลบ
  36. น.ส.สรารัตน์ เย็นประสิทธิ์ 51116603005
    การจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและอุตสาหกรรม

    การประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของสิ่งแวดล้อม หมายถึง การประเมินคุณค่าที่มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ โดยคุณค่านั้นมีทั้งคุณค่าที่มีการใช้ประโยชน์ และคุณค่าที่ไม่มีการใช้ประโยชน์แต่ว่ามีประโยชน์ ทั้งหมดประเมินออกมาในหน่วยที่วัดได้คือหน่วยของเงิน

    การประเมินมูลค่าได้แบ่ง การประเมินออกเป็น 2 ส่วน

    1. คุณค่าที่ใช้ประโยชน์ ได้แก่ ประเมินคุณค่าการใช้ทางตรง
    คุณค่าการใช้ทางอ้อม และคุณค่าในอนาคต
    2. คุณค่าที่ไม่ใช้ประโยชน์ ได้แก่ คุณค่าการคงอยู่ และคุณค่าที่เป็นมรดกสำหรับคนรุ่นหลัง

    ที่มา
    http://www.oknation.net/blog/yuttipong/2009/02/07/entry-1

    ตอบลบ