หลักสูตรการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและอุตสาหกรรม

หลักสูตรการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและอุตสาหกรรม
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ยกตัวอย่าง alien species

ยกตัวอย่าง alien species พร้อมระบุที่มาของข้อมูล

5 ความคิดเห็น:

  1. กุ้งน้ำจืดเครฟิช

    กุ้งเครฟิช เป็นกุ้งน้ำจืดที่มีสีสันสวยงาม ลำตัวสีฟ้าสดใส ตัวใหญ่ขนาดครึ่งฟุต มีก้ามใหญ่เป็นคู่เหมือนกับก้ามปู สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ง่ายด้วยการนำพ่อแม่พันธุ์มาเลี้ยงรวมกันในบ่อ ก็จะได้ลูกกุ้งออกมาจำนวนมาก เฉลี่ยขายกินเนื้อกิโลกรัมละ 400 บาท และตัวละ 100-300 บาทสำหรับการนำไปเลี้ยงดูเล่น


    "น่าเป็นห่วงต่อสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะนาข้าวที่อยู่รอบพื้นที่บ่อเลี้ยงกุ้ง เนื่องจากผลวิจัยค่อนข้างชัดเจนแล้วว่ากุ้งชนิดนี้จะกัดกินต้นข้าว พืชน้ำ กุ้งฝอย และหอยขมของไทย เมื่อนำทดลองไปเลี้ยงรวมกัน โดยเฉพาะกุ้งที่มีขนาดความยาวเฉลี่ย 30.42 ซม.น้ำหนักเฉลี่ย 11.3 กรัมเพียง 2 ตัวในบ่อซีเมนต์กลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 เมตรสามารถกัดกินทำลายต้นข้าวที่มีอายุ 20 วันสูงถึง 100 เปอร์เซ็นต์ ส่วนกุ้งฝอยและหอยขมจะถูกกัดกินจนเหลือแต่ส่วนหัว ดังนั้นจึงพิจารณาว่าหากปล่อยให้มีผลการขยายพื้นที่เพาะเลี้ยงเพิ่มขึ้น ในอนาคตกุ้งที่หลุดลอดไปในแปลงนาจะมีอานุภาพทำลายข้าวสูงมาก ทั้งนี้จะดูว่าจะใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อม หรือกฎหมายของกรมประมง มาใช้กับกรณีนี้"

    นายเควิน วงษ์ศรีแก้ว
    52SP6930018 ZB

    ตอบลบ
  2. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  3. หอยกะพงเทศ
    เป็นหอยสองฝาที่มีต้นกำเนิดในตอนกลางของทวีปอเมริกา แต่มีการแพร่ กระจายพันธุ์ รุกรานไปในประเทศ ต่าง ๆ หลายประเทศ เช่น อินเดีย ออสเตร เลีย สิงคโปร์ เป็นต้น สำหรับการแพร่กระจายนั้น คาดว่าน่าจะติดมากับน้ำในถังอับเฉาเรือเดินสมุทรที่มี ตัวอ่อนของหอยกะพงเทศเจริญเติบโตอยู่ หรือจากตัวเต็มวัยที่เกาะติดมา กับตัวเรือ และ
    ได้มาแพร่พันธุ์ในพื้นที่ โดยเฉพาะในบริเวณหาดแก้วลากูน เป็นบริเวณอยู่ใกล้กับท่าเรือ น้ำลึก

    จากการศึกษาวิจัยการแพร่กระจาย และการดำรงชีวิตของหอยกะพงเทศ พบว่าเป็นหอย ที่ทนทานต่อความเค็มและอุณหภูมิได้ในช่วงกว้าง รวมทั้งทนต่อมลภาวะได้ดี และมี ความสามารถในการสร้างกลุ่มประชากรหนาแน่นซึ่งเป็นการกำจัดสิ่งมีชีวิตพวกเกาะติด
    อื่น ๆ และนอกจากนี้ยังสามารถยึดเกาะได้บนทุกพื้นผิววัสดุที่จมน้ำ ดังนั้นการครอบครอง พื้นที่ของหอยกะพงเทศจึงสามารถก่อให้เกิดปัญหาต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ความสมดุลของระบบนิเวศ และปัญหาทางเศรษฐกิจ

    จากการสำรวจเบื้องต้นพื้นที่ชายฝั่งของทะเลสาบสงขลา (ทะเลสาบตอนล่าง) และพบหอยกะพงเทศจำนวนมากที่บริเวณปากคลองวง บ้านบ่ออ่าง และตำบลสทิงหม้อ แสดงให้เห็นว่าขณะนี้หอยกะพงเทศได้รุกรานเข้าสู่ทะเลสาบสงขลาแล้ว

    นอกจากนี้ จากการศึกษาความแปรผันของการเข้าสู่พื้นที่บริเวณหาดแก้วลากูน พบช่วงที่หอยกะพงเทศขยายพันธุ์ และ เพิ่มจำนวนประชากร 2 ช่วงในรอบปี คือ ช่วงเดือนกรกฎาคม และเดือนมกราคม โดยมีความสัมพันธ์กับความเค็มของน้ำ และความหนาแน่นของแพลงก์ตอน พืชที่เป็นอาหารของหอยกะพงเทศ หากน้ำมีความเค็มต่ำ และมีแพลงก์ตอนพืชจำนวนมาก หอยกะพงเทศมีการขยายพันธุ์และมีความหนาแน่น ของประชากรหอยมากขึ้น การลงเกาะของ หอยกะพงเทศ จะเกาะกลุ่มหนาแน่นบนพื้นดิน เลน หรือวัสดุจมน้ำ จึงจำกัดการลงเกาะของ สิ่งมีชีวิตเกาะติดชนิดอื่น ๆ ก่อให้เกิดปัญหาต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ความสมดุลของ ระบบนิเวศ นอกจากนี้ การลงเกาะบนตาข่ายกระชัง และเครื่องมือประมงของชาวบ้าน ยังทำให้ เกิดปัญหากระแสน้ำไม่หมุนเวียนและทำให้ประสิทธิภาพของเครื่องมือประมงลดลง อาจส่งผล ถึงปัญหาทางเศรษฐกิจในบริเวณดังกล่าว


    นางสาว ชุติมา พ่วงรักษา 52SP6930014 ZB

    ตอบลบ
  4. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  5. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ